การเสนอคำของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการงานวิจัย

การเสนอคำของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการงานวิจัย

  1. หน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติการหน่วยงาน
  2. ประกาศรับข้อเสนอโครงการ
  3. ประชุมจัดทำข้อเสนอโครงการ
  4. ยื่นข้อเสนอโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
  5. เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายยุทธศาสตร์
  6. แก้ไขปรับปรุงตามมติที่ประชุม
  7. นำเข้าข้อมูลในระบบ NRIIS
  8. ตรวจสอบและนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานนำส่ง สกสว.
  9. สกสว. พิจารณาและแจ้งหน่วยงานดำเนินการปรับปรุงคำของบประมาณ (ครั้งที่ 1)
  10. ประชุมปรับปรุงคำขอตามกรอบงบประมาณ (รายหน่วยงาน)
  11. เสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพิจารณา
  12. นำเข้าข้อมูลในระบบ NRIIS
  13. ตรวจสอบและนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานนำส่ง สกสว.
  14. สกสว. พิจารณาและแจ้งหน่วยงานดำเนินการปรับปรุงคำของบประมาณ (ครั้งที่ 2)
  15. เสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพิจารณา
  16. หน่วยงานปรับโครงการในระบบ NRIIS
  17. ตรวจสอบและนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานนำส่ง สกสว.
  18. สกสว. พิจารณากลั่นกรอง
  19. สกสว. นำงบประมาณเข้าคณะกรรมาธิการ
  20. สกสว. แจ้งงบประมาณให้หน่วยงานทราบ
  21. จัดทำคำรับรองระหว่างหน่วยงาน และ สกสว.
  22. สกสว. ดำเนินการโอนเงินงบประมาณให้หน่วยงาน

Share:



รู้หรือไม่? วันแห่งความเท่าเทียมของผู้หญิง ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม

วันแห่งความเท่าเทียมของผู้หญิงตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิ์ในการออกเสียงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 1920 หรือเมื่อปี พ.ศ. 2463

รายงานประจำปี (2019-2020) Progress of the World’s Women ของ UN Women เปิดเผยว่าผู้หญิง 3 ล้านคนทั่วโลก ยังคงดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่การถูกคู่สมรสข่มขืนเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย และราว 1 ใน 5 ของประเทศทั่วโลกยังมีกฎหมายมรดกที่แตกต่างกันระหว่างชาย-หญิง และผู้หญิง ใน 19 ประเทศ ทั่วโลกยังถูกบังคับให้ต้องเชื่อฟังผู้เป็นสามีอยู่ และยังพบว่า 1 ใน 3 ของสตรีที่แต่งงานในประเทศกำลังพัฒนาแทบจะไม่มีประกันสุขภาพเป็นของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ในรายงานฉบับนี้พบความก้าวหน้าเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในหลายด้าน เช่น อายุเฉลี่ยของการแต่งงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและอัตราการเกิดที่ลดลงซึ่สะท้อน ถึงการที่สตรีต้องการเพิ่มพูนการศึกษาเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานและหารายได้เลี้ยงชีพตนเองมากขึ้น


Share:



การประชุมวางกรอบการทำงานวิจัยโครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์

(ภายใต้โครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์)

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมละความมั่นคงของมนุษย์ (นายธนสุนทร สว่างสาลี) กล่าวเปิด “การประชุมวางกรอบการทำงานวิจัยโครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์” (ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕) ในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องจันทร์กะพ้อ ชั้น ๑๙ อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบเรื่องการดำเนินโครงการวิจัยโครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2565 จาก สกสว. ในการวางกรอบแนวทางการวิจัยเนื่องจากเป็นโครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงต้องมีการวางกรอบให้งานวิจัยให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้มากที่สุด โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วยผู้แทนหน่วยงานระดับกรม/เทียบเท่า สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑-๑๑ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมการกงสุลผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ กมพ. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทีมวิจัยของโครงการ ได้แก่ นักวิจัยร่วม ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภุชงค์ เสนานุช รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ รณรงค์ จันใด รองคณบดีฝ่ายบริหาร จากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งสินจำนวน ๓๐ คน


Share:



ทำบุญตักบาตร (พระสงฆ์ 9 รูป) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 07.30 น. นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมเจ้าหน้าที่เข้าร่วมทำบุญตักบาตร (พระสงฆ์ 9 รูป) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ณ บริเวณลานพระประชาบดี อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ


Share:



การประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนยุทธศาสตร์งานวิจัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2560-2564

เมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนยุทธศาสตร์งานวิจัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2560-2564 ณ ห้องประชาบดี ชั้น 19 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมี นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์หน่วยงานระดับกรม/เทียบเท่า/แนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัยของหน่วยงานสังกัดกระทรวง และจัดทำข้อเสนอเพื่อการยกร่างแผน ววน. กระทรวง พม. 2566-2570 ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานระดับกรม/เทียบเท่า ผู้แทนสสว. 1-11 ผู้แทนสำนักงาน พมจ. ผู้แทน สป.พม. และ วิทยากร จำนวน 70 คน


Share:



ประชุมพิจารณา คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ.กมพ. พร้อมด้วย นางชญาภา นิธิญาณิน Mr.เขต ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชน เขตปทุมวัน ร่วมกับ ผู้แทน กทม. และหน่วยงานสังคม พม. ประชุมติดตามการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอัคคีภัย ชุมชนบ่อนไก่พัฒนา เขตปทุมวัน ดังนี้

กทม. รายงานยอดครัวเรือนที่ประสบอัคคีภัยพบ ยอดเปลี่ยนแปลงจาก 188 ครอบครัว เป็น 224 ครัวเรือน ซึ่งได้ปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้ว โดยส่วนใหญ่ได้ไปหาที่เช่าอื่นบริเวณใกล้เคียง และไม่ประสงค์รับบริการของ กคช. เพราะอยู่ไกล

บ้านมิตรไมตรี(ห้วยขวาง) สอบข้อเท็จจริง 140 ครอบครัว ที่หลักฐานตรงกันทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายพัฒนาสังคม 46 ราย เสนอ คกก.พิจารณาเงินอุดหนุนแล้วเมื่อ 4 ก.ค. รายละ 3,000 บาท เป็นเงิน 138,000บาท

ผส.เตรียมช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ ผส.ในภาวะยากลำบาก จำนวน 15 ราย รายละ 3,000 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท คาดว่าสามารถโอนได้ปลายเดือน ก.ค. 65

กคช. ช่วยเหลือน้ำประปา 500 คิวมูลค่า 12,000 บาท /มอบถุงยังชีพให้ผู้ได้รับผลกระทบ(ลูกค้าการเคหะ) 5 ราย มูลค่า 2,500 บาท/ช่วยน้ำดื่ม 1,000 ขวด มูลค่า 5,000 บาท /อบรมการป้องกันและเผชิญเหตุให้ลูกบ้านการเคหะโครงการพระราม4 เตรียมให้บริการห้องเช่าราคาถูกในโครงอาคารเช่าพรพระร่วงประสิทธิ์ และอาคารเช่าซื้อ โครงการตลาดไท

พก. ช่วยเงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ 6 ราย เป็นเงิน 18,000 บาท รอยืนยันหลักฐาน 1 ราย รอการประเมินความพิการเพื่อจดทะเบียนคนพิการและพิจารณาช่วยเหลือ 5 ราย เตรียมสนับสนุนวีลแชร์ 2 ราย ประสาน กทม.กรณีเรื่องหลักเกณฑ์ซ่อมบ้านคนพิการต่อไป

พอช. ช่วยเหลือตามโครงการบ้านชั่วคราวกรณีไฟไหม้ไล่รื้อ จำนวน 84 ครัวเรือน รายละ 18,000 บาท(ค่าเช่า 6 เดือนๆละ 3,000 บาท) โดยจะทำพิธีมอบในวันที่ 8 ก.ค. 2565 รวมกลุ่มเพื่อวางแผนฟื้นฟู 8 กลุ่ม และจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ของทั้ง 84 ครัวเรือน เพื่อดำเนินการตามแนวทางบ้านมั่นคงในอนาคต

บพด.กทม. ร่วมลงพื้นที่ศูนย์พักพิง และเตรียมพิจารณาคุ้มครองสิทธิเด็กในครอบครัวที่ประสบอัคคีภัยจำนวน 36 ครอบครัว 46 คน ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ที่ประชุมพิจารณา คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน

ก่อนเสนอ ปพม.พิจารณา และขอความร่วมมือ กทม.แจ้งรายชื่อผู้ปฏิบัติงานตามคำสั่งขอความ

ร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานแผน/ผลอย่างเป็นทางการภายในวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 65

ท่าน ผว.กทม.ได้หารือการ ผว.กคช.เมื่อวันที่ 5 ก.ค. เพื่อวางระบบชุมชนภาพรวมในอนาคต


Share:



ประชุมหารือแนวทางการจัดทำโครงการวิจัยระบบรายงานสถานการณ์เพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม

เมื่อวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่กองมาตรฐานกลุ่มการพัฒนามาตรฐานทางสังคม ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับ ดร.ญาณิน จิวะกิดาการ หุยากรณ์ และคณะทำงาน ณ ห้อง ประชุมการะเวกชั้น 9 A กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อหารือแนวทางการจัดทำโครงการวิจัยระบบรายงานสถานการณ์เพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม


Share:



โครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill (การประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ณ จังหวัดกรุงเทพฯ)

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นางอภิญญา ชมภูมาศ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถนะรายบุคคล เพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill ภายใต้กิจกรรมการประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพครั้งที่ 6 ร่วมกับจังหวัดกรุงเทพมหานคร และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวรายงาน

การจัดประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพครั้งที่ 6 จัดระหว่างวันที่ 1 ถึง 2 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทนผลิตภัณฑ์ตะไคร้หอมกันยุงและสบู่สมุนไพรสำหรับผิวหน้าและผิวกาย กลุ่มเศรษฐกิจอาชีพและทุนชุมชน สภาองค์กรชุมชน เขตธนบุรี ตัวแทนผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมปั้นสิบ กลุ่มวิสาหกิจกระทุ่มรายพัฒนา เขตหนองจอก ตัวแทนผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบสมุนไพร กลุ่มอาชีพชุมชนริมคลองนางหงษ์ เขตปทุมวัน และผู้เกี่ยวข้องรวมกัน 80 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการ Reskill / Upskill กลุ่มเป้าหมายให้พัฒนาศักยภาพเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัว


Share:



ร่วมหารือเพื่อขับเคลื่อนงานจัดตั้ง”ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน”

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วย นางชญาภา นิธิญาณิน ผอ.กลุ่มการพัฒนามาตรฐานทางสังคม ร่วมกับ ดร.เมธาวี ธารดำรงค์ สมาชิกสภากรุงเทพฯ เขตปทุมวัน และประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เขตปทุมวันพร้อมคณะ ร่วมหารือเพื่อขับเคลื่อนงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน โดยจะร่วมจัดตั้ง “ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน” พร้อมทั้งแผนการดำเนินการ และการพัฒนาบุคลากร อพม. ให้มีทักษะและองค์ความรู้ในการจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเปราะบาง และพร้อมเป็นหน่วยสนับสนุนการดำเนินงาน ร่วมกับ พม. ต่อไป


Share:



การอบรมเชิงปฎิบัติการหลักจริยธรรมพื้นฐานและการพิจารณาโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดอบรมเชิงปฎิบัติการหลักจริยธรรมพื้นฐานและการพิจารณาโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ณ ห้องจันทร์กะพ้อ ชั้น 19 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting โดยมี นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานเปิดการอบรม และนางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กล่าวรายงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การขับเคลื่อนระบบการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมของกระทรวง พม. เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้แทนระดับกรม/เทียบเท่า ผู้แทน สสว.1-11 และวิทยากรจากชมรมจริยธรรมการวิจัยคนในประเทศไทย ประกอบด้วย ดร.อโณทัย โภคาธิกรณ์ พ.อ.ผศ.นพ.นิธิพันธ์ สุขสุเมฆ ผศ.ดร.วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา และ รศ.ดร.ประทุม สร้อยวงศ์ รวมจำนวน 70 คน


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial