การอบรมเชิงปฏิบัติการนักวิจัยระดับเชี่ยวชาญ

ในวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 15.30 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการนักวิจัยระดับเชี่ยวชาญ ณ โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯพร้อมมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรม จำนวน 30 คน โดยมีนางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้การต้อนรับ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่รับผิดชอบงานด้านวิจัยให้มีทักษะความรู้เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ บทความงานวิจัย เพื่อเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือนำเสนอในเวทีวิชาการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่ง ในการส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยของกระทรวงไปใช้ประโยชน์โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรม ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานระดับกรม / เทียบเท่า ผู้ปฏิบัติงานจากสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 บุคลากรและเจ้าหน้าที่กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยได้มีการนำผลงานวิจัยที่หน่วยงานจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ เมื่อปี 2564-2565 มาฝึกปฏิบัติการเขียนเป็นบทความวิจัย และบทความวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 17 เรื่องในการนี้ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ทักษะการทำงานด้านการวิจัย เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการทำงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต ผลงานวิจัยจะเป็นข้อมูลสำคัญทางวิชาการในการสนับสนุนนโยบายขององค์กรให้มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ รวมถึงการวิจัยะสร้างนวัตกรรมทางสังคมใหม่ เพื่อเป็นเครื่องมืในการพัฒนางานและพัฒนาองค์กรให้เท่าทันต่อสถานการณ์ยิ่งขึ้น จึงขอให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาตนเอง เพื่อการพัฒนางานต่อไป


Share:



กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดประชุมโครงการวิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนาระบบนิเทศ ติดตาม และสร้างเกณฑ์การประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเปราะบาง

ในวันที่ 26 มกราคม 2567 เวลา 08.30 – 15.00 น. ณ ห้องวังสะพานขาว ชั้น 18 โซนบีอาคารกระทรวง wม. และผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาระบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผล เพื่อการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเปราะบางให้สามารถใช้เป็นเกณฑ์สำหรับชี้วัดสถานภาพครัวเรือนเปราะบางของกระทรวง พม.ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิซาการ (สสว.) 1 – 11 ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ผู้แทนกองตรวจราชการ นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ กมพ. ที่เกี่ยวข้อง


Share:



การประชุมฝ่ายปฏิบัติการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ ครั้งที่ 1/2567วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม 2567ในรูปแบบการประชุมเผชิญหน้าและการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM CLOUD MEETINGS

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. นายอนันต์ คนตรี รองปลัดกระทรวง พม.เป็นประธานการประชุมฝ่ายปฏิบัติการศูนย์ส่งเสริมและ ประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมวังสะพานขาว ชั้น 18 โซนบี อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรูปแบบการประชุมเผชิญหน้าและการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZO0M CLOUD MEETINGS มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน ศส.ตปท. อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานใน กระทรวง พม. และผู้แทน สสว. 1-11 สรุปผลการประชุมได้ ดังนี้

1.รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

2. รับทราบแผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

3. พิจารณา (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4. พิจารณา เ(ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงนสหวิชาชีพเพื่อการพัฒนาสังคมไทยและช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศตามภารกิจกระทรวงพม.

5. พิจารณา (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (ศส.ตปท.)ทั้งนี้ ประธานฯ ขอให้ฝ่ายเลขานุการประสานหน่วยงาน เพื่อรับข้อเสนอ ปรับแก้ไขและเร่งติดตามรายชื่อคณะทำงานตามคำสั่งฯ ภายในเดือนมกราคม 2567 และผลักคันให้วาระการพิจารณาเกิดอย่างเป็นรูปธรรม และแจ้งเวียนแต่ละหน่วยงานเพื่อให้ทราบและถือปฏิบัติ


Share:



การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนางานวิจัยแบบ R2R และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายจากฐานข้อมูลกลางรายงานสถานการณ์ทางสังคมของกระทรวง พม.

วันพุธที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. นายอนันต์ ดนตรี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประรานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนางานวิจัยแบบ R2R และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายจากฐานข้อมูลกลางรายงานสถานการณ์ทางสังคมของกระทรวง wม. ณ ห้องมิ่งเมือง โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมีนางณัฐสุรีย์ อศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ผม. ให้สามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลกลางรายงานสถานการณ์ทางสังคมเพื่อพัฒนาสู่การจัดทำ Policy Brief และขยายผลต่อยอดสู่งานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนางานและพัฒนาสังคม กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบการจัดทำข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคมของ สนงพมจ. ทั้ง 76 จังหวัด ผู้รับผิดชอบการจัดทำข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัดและงานวิจัยของ สสว. 1-1 และเจ้าหน้าที่กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งรับผิดชอบการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับประเทศ และงานวิจัยเพื่อการพัฒนา รามทั้งสิ้น 110 คน ซึ่งกิจกรรมการระดมสมอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้นที่ประชุมจะทำให้เกิดผลกระทบสำคัญคือ กระทราง ผม. มีข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคมที่สามารถนำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือแผนงาน/โครงการ เพื่อการแก้ไขป้องกัน ฟื้นฟู และพัฒนากลุ่มเป้าหมายทั้งระดับครอบครัชุมซนและสังคม และทำให้บุคลากรในหน่วยงานสามารถยกระดับงานประจำมาทำเป็นงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนางาน พัฒนากลุ่มเป้าหมาย และพัฒนาสังคมต่อไป


Share:



กาารประชุมคณะทำงานด้านการรับมือและปรับตัวของกลุ่มเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1 / 2567

ในวันอังคารที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 16.00 น. นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ

ความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานด้านการรับมือและปรับตัวของกลุ่มเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศในส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1/2567 เพื่อมอบนโยบาย กรอบแนวทางการดำเนินงาน กำหนดบทบาทปฏิทินการดำเนิน

งานของคณะทำงานฯ ให้การขับเคลื่อนงานบรรลุตามเป้าหมาย โดยมีผู้แทนจากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ทั้งส่วนกลาง

และส่วนภูมิภาค ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นคณะทำงานเข้าร่วมการประชุม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. คณะทำงานทุกหน่วยงานรายงานผลการดำเนินงาน แผ่นงาน/โครงการ/กิจกรรม/คู่มือ แนวปฏิบัติ และให้ข้อเสนอแนะ

ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการขับเคลื่อนองค์กรสีเขียว (Green Office)

2. ความพร้อมของหน่วยงานในส่วนภูมิภาค เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการรับมือและปรับตัวของกลุ่มเปราะบาง

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในส่วนภูมิภาค และการขับเคลื่อนองค์กรสีเขียว ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. การมอบหมายให้ทุกหน่วยงานจัดส่งข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำ (ร่าง) คู่มือด้านการรับมือและปรับตัวของกลุ่มเปราะบาง

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย 1) คู่มือ/แนวปฏิบัติ/แผนการจัดการภัยพิบัติในการดูแลกลุ่มเปราะบาง

ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ 2) ประเภทของภัยพิบัติต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมาย/ภารกิจ 3) คู่มือ/แนวปฏิบัติ/แผน

งาน/โครงการ/กิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสีเขียว 4) แผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม โดยจัดส่งข้อมูลตาม

ข้อ 3 ให้กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะคณะทำงานและเลขานุการ เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์

นำสู่การจัดทำ (ร่าง) คู่มือฯ เพื่อเป็นแนปฏิบัติของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ที่มีความเป็นเอกภาพ มีระบบการติดตามประเมินผลและรายงานผล รวมถึงนำไปสู่การประกาศเจตนารมย์การเป็นองค์กร

สีเขียวของกระทรวง พม. ในระยะต่อไป


Share:



การประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เป็นประธาน การประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและ

นวัตกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. – 12.00 น.

ณ ห้องประชุมจำปีสิรินธร ชั้น 19 A อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ในรูปแบบเผชิญหน้า และรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom Cloud Meetings)

โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนกรมกิจการเด็กและเยาวชน ผู้แทนการเคหะแห่งชาติ

ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิซาการ 1 – 11 และเจ้าหน้าที่กอง

มาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 40 คน โดยการประชุมได้ชี้แจงแนวทาง

ปฏิบัติเพื่อขับเคลือนการดำเนินงานเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กิจกรรมการดำเนินงานด้านการวิจัย และการพัฒนาทักษะบุคลากร

รวมถึงการชี้แจงแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์


Share:



KICK-OFF ชั่วโมงออกกำลังกาย

วันพุธที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 15.00 น. นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำทีมบุคลากร กมพ. จำนวน 44 คน เข้าร่วมกิจกรรม KICK-OFF ชั่วโมงออกกำลังกาย เพื่อให้บุคลากรมีสุขภาวะที่ดีและสนับสนุนให้บุคลากรในสังกัดตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ และกมพ. ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นประจำทุกวันพุธ ตามนโยบาย พม.


Share:



ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ (Virtual Organization) – ประเทศเยอรมัน

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพข้ามประเทศครั้งที่ 3 เพื่อสรุปบทเรียนกรณีการให้ความช่วยเหลือหญิงไทยในการตามหาสามีชาวเยอรมัน ร่วมกับ สนง. พมจ. นครสวรรค์ อพม.ไทยในประเทศเยอรมนี และทีม พม. โดยสรุปได้ดังนี้

  1. นายเฮ็ลมูทฯ แจ้งยืนยันการมีชีวิตอยู่ในเยอรมนี แต่มีประเด็นขัดแย้งกับผู้ร้อง จึงไม่ติดต่อกลับหาผู้ร้อง
  2. เสนอแนวทางในการดำเนินการขั้นต่อไป โดยจำเป็นที่จะต้องประสานข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการหย่า และความเสี่ยงกับผู้ร้องเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยที่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ทุกหน่วยงานต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมของทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ
  3. การดูแลด้านการครองชีพ พมจ. นครสวรรค์ ได้ติดต่อไปยัง CSR เพื่อขอทุนประกอบอาชีพ มอบเครื่องอุปโภคบริโภค และอยู่ระหว่างการพิจารณาให้เงินสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาสังคมกรณีฉุกเฉิน
  4. การดำเนินงานต่อไปของ ศส.ตปท. อาจพิจารณาจัดการประชุมออนไลน์เพื่อให้ความรู้ด้านสิทธิประโยชน์แก่หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ

บทบาทที่โดดเด่นของการดำเนินงานของทีมสหวิชาชีพ​ ดังนี้

  • พมจ. นครสวรรค์ประสาน รวบรวมหลักฐานที่จำเป็นสำหรับการสอบถามข้อมูลจากสำนักงานประกันบำนาญและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้การช่วยเหลือประสานภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อขอทุนประกอบอาชีพแก่ผู้ร้อง
  • อพม. เยอรมนี ศึกษาเอกสารสำคัญต่าง ๆ หาเบาะแสในการตามหานายเฮ็ลมูทฯ ติดต่อประสานงานอย่างรวดเร็วกับหน่วยงานราชการท้องถิ่นของเยอรมนี และเครือข่ายในพื้นที่

Share:



ประชุมหารือจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในการประชุมหารือจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ(นายจักรวาล แสงแข) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (ศส.ตปท.) ณ ห้องจันทร์กะพ้อ ชั้น 19 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ได้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 18/2566 มติที่ 473/2566 เรื่อง โครงการการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมีอด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 และการดำเนินงานต่อไปเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของ หน่วยงานราชการในการจัดทำข้อตกลงบันทึกความร่วมมือฯ การขยายเครือข่ายด้านงานพิทักษ์คุณธรรม และสิทธิด้านกฎหมายระหว่างประเทศต่อไป รวมถึงการดำเนินโครงการวิจัยในปีงบประมาณ 2567 ที่ได้รับงบประมาณจาก สกสว.


Share:



ประชุมทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ (Virtual Organization) – เมืองดูไบ

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ประชุมสหวิชาชีพครั้งที่ 1 เพื่อให้ความช่วยเหลือกรณีหญิงไทยในเมืองดูไบ

ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประสบความเดือนร้อน โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ร้องขอความช่วยเหลือ เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป สมาชิกเครือข่ายฯ ทีมอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ ผู้แทนหน่วยงาน

ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

กองต่อต้านการค้ามนุษย์ กองกฎหมาย ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 กองตรวจราชการ กองการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ ศส.ตปท. เพื่อสืบข้อเท็จจริงและสรุปวางแผนทีมสหวิชาชีพให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ดังนี้

1. กองต่อต้านการค้ามนุษย์ สป.พม. มีหนังสือถึงสถานกงสุลใหญ่ ณ ประเทศดูไบ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ และติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ และทางสถานกงสุลแจ้งว่าได้ติดต่อผู้ขอรับความช่วยเหลือโดยตรงด้วยแล้ว

▶️ทีมสหวิชาชีพให้คำแนะนำหญิงไทยในดูไบฯ ว่า: ควรขอความช่วยเหลือจากกรมการกงสุลไทย ในเมืองดูไบ เพื่อป้องกันการดูหลอกจากบริษัทเอเจนซี่ต่าง ๆ

2. รองปลัดกระทรวง พม.ประสานติดตามเน้นย้ำการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ผ่านท่านทูตซาอุดิอาระเบียถึงท่านทูตดูไบด้วยแล้วทางหนึ่ง

3. ผู้ประสานงาน AAT ให้คำแนะนำผู้เสียหายต้องโทรแจ้งตำรวจท้องถิ่น เบอร์ 999 ด้วยตนเอง เพื่อระบบจับพิกัดที่ตั้งจากการโทรศัพท์ ก่อนทำการเข้าช่วยเหลือภายใน 5 ชั่วโมง

▶️หญิงไทยในดูไบฯ ยืนยันว่าได้โทรแจ้งตำรวจท้องถิ่นแล้ว 4-5 ครั้ง และจะติดตามตำรวจท้องถิ่นให้มาช่วยเหลือตามพิกัดที่ตั้งด้วยตนเอง

▶️กรณีหญิงไทยในดูไบฯ มีปัญหาทาง AAT ยินดีทำหนังสือประสานตำรวจท้องถิ่นให้ได้อีกทางหนึ่ง

▶️กรณีหากมีการช่วยเหลือออกจากสถานประกอบการที่ถูกกักขังหน่วยเหนี่ยวได้แล้ว หญิงไทยในดูไบฯ ยืนยันว่ามีที่พักคือบ้านเพื่อนมีคนช่วยเหลือเรื่องอาหาร และการเดินทางที่สามารถไปติดต่อสถานกงสุลซึ่งอยู่ห่างจากพิกัดที่ตั้งประมาณ 34 กิโลเมตรได้

4. ทีมสหวิชาชีพแนะนำหญิงไทยในดูไบฯ สามารถพูดคุยและขอความช่วยเหลือทางไลน์กลุ่ม CM ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ตลอด 24 ชม.


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial