การประชุมวางกรอบ MOU/MOA ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กับ กระทรวงการต่างประเทศ

การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายธนสุนทร สว่างสาลี) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อยกร่าง MOU ว่าด้วย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางการเสริมความเข้มแข็งของ “บวร” ระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่าง กระทรวงการต่างประเทศ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ในช่วงเช้าคณะผู้ศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมาแลกเปลี่ยนผลการศึกษาและข้อเสนอในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมประสิทธิภาพองค์กรในการปฏิบัติการช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ คณะผู้บริหารจาก มจร. มาแลกเปลี่ยน เรื่องพระธรรมทูตในต่างประเทศและบทบาทพระสงฆ์ในการเป็นกลไกกลางในต่างประเทศ เชื่อมประสานกับ พม.(ศส.ตปท.) และหน่วยปฏิบัติการด้านการจัดบริการสวัสดิการสังคมในประเทศไทย

ช่วงบ่ายเป็นการร่วมกันจัดทำข้อเสนอเพื่อทำความร่วมมือ ระหว่าง พม.กับ มจร. กระทรวงการต่างประเทศ และภาคีเครือข่าย ในเรื่องต่อไปนี้

การยกระดับงานพระธรรมทูตและองค์พระธรรมทูตให้เป็นกลไกประสานงายเพื่อดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคม/การสังคมสงเคราะห์ในต่างประเทศ

การสร้าง/พัฒนาหลักสูตรพระธรรมทูตและหลักสูตรสาขาสังคมสงเคราะห์ให้ผู้เรียนคือ พระธรรมทูต/พระสงฆ์/ฆราวาสที่สนใจ เรียนเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มทักษะการให้บริการประชาขนที่มีขอรับความช่วยเหลือให้มีประสิทธิภาพทั้งในและต่างประเทศ

การยกระดับเครือข่ายพระสงฆ์ทั้งในและต่างประเทศ เป็น “อพม.พระสงฆ์” ภายใต้แนวคิด “บวร” (บ้าน วัด ราชการ) เนื่องจากพระใกล้ชิดประชาขนและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน


Share:



การประชุมร่างกรอบทำ MOU ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) กับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

เมื่อวันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุม ๒๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร พระโสภณวชิราภรณ์, ดร. อัคคมหาบัณฑิต รก.รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นประธานการประชุมร่างกรอบทำ MOU ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) กับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยคณาจารย์และผู้บริหารทางการศึกษาของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) คณะสังคมศาสตร์ และวิทยาลัยพระธรรมทูต โดยมี นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ ศ.ระพีพรรณ คำหอม เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันในการจัดทำร่าง MOU ระหว่าง มจร. กับ พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

  1. ยกระดับงานพระธรรมทูตใน ตปท.เป็นกลไกเครือข่ายช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ
  2. ยกระดับงานพระธรรมทูตในไทย และคณะสงฆ์ในมหานิกาย เป็น อพม. และผู้ช่วย CM ในการขับเคลื่อนงานสังคมสงเคราะห์นานาชาติ
  3. ประสงค์ร่วมกับ พม.และ มธ.ในการสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรและการอบรม นักสังคมสงเคราะห์นานาชาติ บนฐานภารกิจกระทรวง พม. เพื่ออบรมพระธรรมทูตทั้งใน และต่างประเทศ และนิสิตสงฆ์นานชาติในกำกับของ มจร.
  4. ประสงค์พัฒนาหลักสูตรสาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ของ มจร. ที่เปิดสอนโดยเพิ่มภารกิจและกระบวนที่เกี่ยวข้องกับหลักการและกระบวนงานสังคมสงเคราะห์ของ พม. ในกลุ่มนิสิตสงฆ์
  5. ประสงค์ยกระดับให้พระสงฆ์ที่สมัครใจและที่ผ่านการอบรมหลักสูตรข้างต้นเป็น “อพม.พระสงฆ์”เพืาอเป็นกลไก CM ระดับชุมชนท้องถิ่น โดยไม่จำเป็นต้องมีค่าตอบแทน

มจร.ขอหารือผู้บริหาร พม. ก่อนวันที่ 9 กันยายน 2565 เพื่อนำ ร่าง MOU เสนอสภามหาวิทยาลัย มจร.วันที่ 9 กันยายน 2565

ท่านเจ้าคุณรองอธิการ มจร. เสนอให้ทำ MOU ร่วมกันในช่วงวันสถาปนากระทรวง พม. ทางสงฆ์จะเชิญพระขั้นผู้ใหญ่มาร่วมลงนามกับ พม.


Share:



การเสนอคำของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการงานวิจัย

การเสนอคำของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการงานวิจัย

  1. หน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติการหน่วยงาน
  2. ประกาศรับข้อเสนอโครงการ
  3. ประชุมจัดทำข้อเสนอโครงการ
  4. ยื่นข้อเสนอโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
  5. เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายยุทธศาสตร์
  6. แก้ไขปรับปรุงตามมติที่ประชุม
  7. นำเข้าข้อมูลในระบบ NRIIS
  8. ตรวจสอบและนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานนำส่ง สกสว.
  9. สกสว. พิจารณาและแจ้งหน่วยงานดำเนินการปรับปรุงคำของบประมาณ (ครั้งที่ 1)
  10. ประชุมปรับปรุงคำขอตามกรอบงบประมาณ (รายหน่วยงาน)
  11. เสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพิจารณา
  12. นำเข้าข้อมูลในระบบ NRIIS
  13. ตรวจสอบและนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานนำส่ง สกสว.
  14. สกสว. พิจารณาและแจ้งหน่วยงานดำเนินการปรับปรุงคำของบประมาณ (ครั้งที่ 2)
  15. เสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพิจารณา
  16. หน่วยงานปรับโครงการในระบบ NRIIS
  17. ตรวจสอบและนำเสนอหัวหน้าหน่วยงานนำส่ง สกสว.
  18. สกสว. พิจารณากลั่นกรอง
  19. สกสว. นำงบประมาณเข้าคณะกรรมาธิการ
  20. สกสว. แจ้งงบประมาณให้หน่วยงานทราบ
  21. จัดทำคำรับรองระหว่างหน่วยงาน และ สกสว.
  22. สกสว. ดำเนินการโอนเงินงบประมาณให้หน่วยงาน

Share:



รู้หรือไม่? วันแห่งความเท่าเทียมของผู้หญิง ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม

วันแห่งความเท่าเทียมของผู้หญิงตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิ์ในการออกเสียงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 1920 หรือเมื่อปี พ.ศ. 2463

รายงานประจำปี (2019-2020) Progress of the World’s Women ของ UN Women เปิดเผยว่าผู้หญิง 3 ล้านคนทั่วโลก ยังคงดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่การถูกคู่สมรสข่มขืนเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย และราว 1 ใน 5 ของประเทศทั่วโลกยังมีกฎหมายมรดกที่แตกต่างกันระหว่างชาย-หญิง และผู้หญิง ใน 19 ประเทศ ทั่วโลกยังถูกบังคับให้ต้องเชื่อฟังผู้เป็นสามีอยู่ และยังพบว่า 1 ใน 3 ของสตรีที่แต่งงานในประเทศกำลังพัฒนาแทบจะไม่มีประกันสุขภาพเป็นของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ในรายงานฉบับนี้พบความก้าวหน้าเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในหลายด้าน เช่น อายุเฉลี่ยของการแต่งงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและอัตราการเกิดที่ลดลงซึ่สะท้อน ถึงการที่สตรีต้องการเพิ่มพูนการศึกษาเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานและหารายได้เลี้ยงชีพตนเองมากขึ้น


Share:



การประชุมวางกรอบการทำงานวิจัยโครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์

(ภายใต้โครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์)

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมละความมั่นคงของมนุษย์ (นายธนสุนทร สว่างสาลี) กล่าวเปิด “การประชุมวางกรอบการทำงานวิจัยโครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์” (ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕) ในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องจันทร์กะพ้อ ชั้น ๑๙ อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบเรื่องการดำเนินโครงการวิจัยโครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2565 จาก สกสว. ในการวางกรอบแนวทางการวิจัยเนื่องจากเป็นโครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงต้องมีการวางกรอบให้งานวิจัยให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้มากที่สุด โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วยผู้แทนหน่วยงานระดับกรม/เทียบเท่า สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑-๑๑ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมการกงสุลผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ กมพ. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทีมวิจัยของโครงการ ได้แก่ นักวิจัยร่วม ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภุชงค์ เสนานุช รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ รณรงค์ จันใด รองคณบดีฝ่ายบริหาร จากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งสินจำนวน ๓๐ คน


Share:



ทำบุญตักบาตร (พระสงฆ์ 9 รูป) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 07.30 น. นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมเจ้าหน้าที่เข้าร่วมทำบุญตักบาตร (พระสงฆ์ 9 รูป) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ณ บริเวณลานพระประชาบดี อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ


Share:



การประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนยุทธศาสตร์งานวิจัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2560-2564

เมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนยุทธศาสตร์งานวิจัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2560-2564 ณ ห้องประชาบดี ชั้น 19 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมี นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์หน่วยงานระดับกรม/เทียบเท่า/แนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัยของหน่วยงานสังกัดกระทรวง และจัดทำข้อเสนอเพื่อการยกร่างแผน ววน. กระทรวง พม. 2566-2570 ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานระดับกรม/เทียบเท่า ผู้แทนสสว. 1-11 ผู้แทนสำนักงาน พมจ. ผู้แทน สป.พม. และ วิทยากร จำนวน 70 คน


Share:



ประชุมพิจารณา คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ.กมพ. พร้อมด้วย นางชญาภา นิธิญาณิน Mr.เขต ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชน เขตปทุมวัน ร่วมกับ ผู้แทน กทม. และหน่วยงานสังคม พม. ประชุมติดตามการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอัคคีภัย ชุมชนบ่อนไก่พัฒนา เขตปทุมวัน ดังนี้

กทม. รายงานยอดครัวเรือนที่ประสบอัคคีภัยพบ ยอดเปลี่ยนแปลงจาก 188 ครอบครัว เป็น 224 ครัวเรือน ซึ่งได้ปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้ว โดยส่วนใหญ่ได้ไปหาที่เช่าอื่นบริเวณใกล้เคียง และไม่ประสงค์รับบริการของ กคช. เพราะอยู่ไกล

บ้านมิตรไมตรี(ห้วยขวาง) สอบข้อเท็จจริง 140 ครอบครัว ที่หลักฐานตรงกันทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายพัฒนาสังคม 46 ราย เสนอ คกก.พิจารณาเงินอุดหนุนแล้วเมื่อ 4 ก.ค. รายละ 3,000 บาท เป็นเงิน 138,000บาท

ผส.เตรียมช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ ผส.ในภาวะยากลำบาก จำนวน 15 ราย รายละ 3,000 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท คาดว่าสามารถโอนได้ปลายเดือน ก.ค. 65

กคช. ช่วยเหลือน้ำประปา 500 คิวมูลค่า 12,000 บาท /มอบถุงยังชีพให้ผู้ได้รับผลกระทบ(ลูกค้าการเคหะ) 5 ราย มูลค่า 2,500 บาท/ช่วยน้ำดื่ม 1,000 ขวด มูลค่า 5,000 บาท /อบรมการป้องกันและเผชิญเหตุให้ลูกบ้านการเคหะโครงการพระราม4 เตรียมให้บริการห้องเช่าราคาถูกในโครงอาคารเช่าพรพระร่วงประสิทธิ์ และอาคารเช่าซื้อ โครงการตลาดไท

พก. ช่วยเงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ 6 ราย เป็นเงิน 18,000 บาท รอยืนยันหลักฐาน 1 ราย รอการประเมินความพิการเพื่อจดทะเบียนคนพิการและพิจารณาช่วยเหลือ 5 ราย เตรียมสนับสนุนวีลแชร์ 2 ราย ประสาน กทม.กรณีเรื่องหลักเกณฑ์ซ่อมบ้านคนพิการต่อไป

พอช. ช่วยเหลือตามโครงการบ้านชั่วคราวกรณีไฟไหม้ไล่รื้อ จำนวน 84 ครัวเรือน รายละ 18,000 บาท(ค่าเช่า 6 เดือนๆละ 3,000 บาท) โดยจะทำพิธีมอบในวันที่ 8 ก.ค. 2565 รวมกลุ่มเพื่อวางแผนฟื้นฟู 8 กลุ่ม และจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ของทั้ง 84 ครัวเรือน เพื่อดำเนินการตามแนวทางบ้านมั่นคงในอนาคต

บพด.กทม. ร่วมลงพื้นที่ศูนย์พักพิง และเตรียมพิจารณาคุ้มครองสิทธิเด็กในครอบครัวที่ประสบอัคคีภัยจำนวน 36 ครอบครัว 46 คน ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ที่ประชุมพิจารณา คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน

ก่อนเสนอ ปพม.พิจารณา และขอความร่วมมือ กทม.แจ้งรายชื่อผู้ปฏิบัติงานตามคำสั่งขอความ

ร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานแผน/ผลอย่างเป็นทางการภายในวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 65

ท่าน ผว.กทม.ได้หารือการ ผว.กคช.เมื่อวันที่ 5 ก.ค. เพื่อวางระบบชุมชนภาพรวมในอนาคต


Share:



ประชุมหารือแนวทางการจัดทำโครงการวิจัยระบบรายงานสถานการณ์เพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม

เมื่อวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่กองมาตรฐานกลุ่มการพัฒนามาตรฐานทางสังคม ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับ ดร.ญาณิน จิวะกิดาการ หุยากรณ์ และคณะทำงาน ณ ห้อง ประชุมการะเวกชั้น 9 A กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อหารือแนวทางการจัดทำโครงการวิจัยระบบรายงานสถานการณ์เพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม


Share:



โครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill (การประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ณ จังหวัดกรุงเทพฯ)

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นางอภิญญา ชมภูมาศ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถนะรายบุคคล เพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill ภายใต้กิจกรรมการประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพครั้งที่ 6 ร่วมกับจังหวัดกรุงเทพมหานคร และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวรายงาน

การจัดประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพครั้งที่ 6 จัดระหว่างวันที่ 1 ถึง 2 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทนผลิตภัณฑ์ตะไคร้หอมกันยุงและสบู่สมุนไพรสำหรับผิวหน้าและผิวกาย กลุ่มเศรษฐกิจอาชีพและทุนชุมชน สภาองค์กรชุมชน เขตธนบุรี ตัวแทนผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมปั้นสิบ กลุ่มวิสาหกิจกระทุ่มรายพัฒนา เขตหนองจอก ตัวแทนผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบสมุนไพร กลุ่มอาชีพชุมชนริมคลองนางหงษ์ เขตปทุมวัน และผู้เกี่ยวข้องรวมกัน 80 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการ Reskill / Upskill กลุ่มเป้าหมายให้พัฒนาศักยภาพเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัว


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial