การขับเคลื่อนการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ ครั้งที่ 2/2566

วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมประชาบดี ชั้น 19 กระทรวง พม.

รายงานผลความร่วมมือการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ และงานสาธารสงเคราะห์ในประเทศตามแนวทาง “บวร” โดย รอง ปพม. ท่านกันตพงษ์ รังษีสว่าง นำคณะ พม. เข้าถวายสักการะเจ้าประคุณสมเด็จมหาวีรวงศ์ วัดราชบพิตรฯ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ให้แนวทาง กระทรวง พม. เสนอเรื่องการพัฒนาสังคมไทยเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคม ซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธาน เพื่อมอบแนวปฏิบัติภาพรวมคณะสงฆ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอาจไม่ต้องทำ MOU กับคณะสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ใช้มติเถรสมาคมขับเคลื่อนงานในบทบาทพระสงฆ์ที่ประชุมรับทราบและให้ข้อเสนอแนะผลงานวิจัยเพื่อออกแบบโครงสร้างการขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมือของวัดไทย/พระธรรมทูตทั่วโลกในต่างประเทศ ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ หน่วยงานระดับกรม/ภูมิของ พม. และ one home รวมถึงแนวทางการบูรณาการงานสาธารณสงเคราะห์กับงาน กระทรวง พม. ในประเทศไทย โดย ผศ.รณรงค์ จันใดรองคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้คำแนะนำการเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคม สรุปดังนี้

  • การเสนอเรื่องควรทำเป็นหนังสือจากกระทรวง พม. ถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมเอกสารที่จะนำเข้าประชุม โดยไม่ต้องตั้งคณะทำงานกลั่นกรอง
  • กระทรวง พม. ควรมีหนังสือถึงประธานสงฆ์ทั้งสองนิกายเพื่อนำเรียนเรื่องนำเข้ามหาเถรสมาคม เพื่อเจ้าประคุณสมเด็จทั้งสองฝ่ายรับทราบและสนับสนุนเมื่อถึงคราววาระที่ต้องพิจารณาในมหาเถรสมาคม
  • กระทรวง พม. ควรขอเข้าถวายสักการะและสรุปสาระสำคัญเรื่องที่จะนำเข้ามหาเถรสมาคม โดยตรงกับเจ้าประคุณสมเด็จทั้งสองฝ่ายก่อนเข้ามหาเถรสมาคม
  • การพิจารณาเรื่อง MOU หลังจากมีมติมหาเถรสมาคมแล้ว หากพิจารณาดำเนินการแนะนำให้ทำเฉพาะหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานความร่วมมือในเชิงปฏิบัติการ ที่ไม่เกี่ยวกับอำนาจปกครองของคณะสงฆ์

Share:



รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าถวายสักการะ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เพื่อขยายความร่วมมือพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ

เมื่อวันเสาร์ที่ 8 เมษายน 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องรับรองโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดอาวุธวิกสิตาราม เขตบางพลัด รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย​์​ นายกันตพงศ์​ รังษีสว่าง พร้อมกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) สป.พม. โดย นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน และคณะ ได้รับโอกาสเข้าถวายสักการะ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4-5 และภาค 6-7 แม่กองธรรมสนามหลวง รองแม่กองงานพระธรรมทูต หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 7 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร​ และท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย​ พระเทพวัชรเมธี โดยเข้าถวายสักการะเพื่อขอโอวาทแนวทาง และสรุปสาระสำคัญการส่งเสริมความร่วมมือของคณะสงฆ์ไทยฝ่ายธรรมยุติกนิกายในการพัฒนาสังคมไทยและช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ

ในการนี้เจ้าประคุณสมเด็จฯ และท่านอธิการบดีฯ​ ให้ความสำคัญการขับเคลื่อนความร่วมมือกับ พม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคมในต่างประเทศและการขับเคลื่อนงานสาธารณสงเคราะห์

ทั้งนี้ขอให้จัดทำคู่มือแนวทางการให้ความช่วยเหลือปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นกับคนไทยในต่างประเทศและพัฒนาหลักสูตรการอบรมพระธรรมฑูต เพื่อให้มีแนวทางการพัฒนาสังคม​ และการช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาสังคมในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป


Share:



เรื่อง การขยายความร่วมมือพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศไปในคณะสงฆ์ไทยฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

เมื่อวันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2566 เวลา 14.30 น. ณ ห้องรับรองโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดอาวุธวิกสิตาราม เขตบางพลัด นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และคณะ ได้รับโอกาสเข้าถวายสักการะสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4-5 และภาค 6-7 แม่กองธรรมสนามหลวง รองแม่กองงานพระธรรมทูต หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 7 ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร โดยเข้าถวายสักการะอย่างไม่เป็นทางการเพื่อขอโอวาทแนวทางและสรุปสาระสำคัญการส่งเสริมความร่วมมือของคณะสงฆ์ไทยฝ่ายธรรมยุติกนิกายในการพัฒนาสังคมไทยและช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ

ในการนี้เจ้าประคุณสมเด็จฯ เห็นชอบในหลักการเรื่องความร่วมมือกับ พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคมในต่างประเทศและการขับเคลื่อนงานสาธารณสงเคราะห์

ทั้งนี้ขอให้จัดทำแบบสรุปโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และรูปแบบความร่วมมือ ให้มีความชัดเจนแล้วมานำเสนอพร้อมการเข้าถวายสักการะโดย ปพม. ต่อไป


Share:



การประชุมนำเสนอกรอบแนวคิดและวิพากษ์งานสังคมสงเคราะห์ไซเบอร์ เรื่อง “รูปแบบและกระบวนการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ไซเบอร์ (Cyber Social Work) ในชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community)”

วันพุธที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมโป๊ยเซียน ทรัพย์เจริญสุข 705 ชั้น 7 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการประชุมนำเสนอกรอบแนวคิดและวิพากษ์งานสังคมสงเคราะห์ไซเบอร์ เรื่อง รูปแบบและกระบวนการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ไซเบอร์ (Cyber Social Work) ในชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) ภายใต้โครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ ซึ่งได้รับงบประมาณปี 2565 จาก สกสว. โดยมีรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายธนสุนทร สว่างสาลี) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม พร้อมมอบนโยบายขับเคลื่อนดำเนินงานวิจัย โดยมีผู้ช่วยนักวิจัย รศ.ดร.ภุชงค์ เสนานุช และ ผศ.รณรงค์ จันใด คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิ ผศ.ดร.ปรินดา ตาสี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ไพรินทร์ ขัดธิพงษ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยพะเยา ดร.เทพสุดา จิวตระกูล นักวิชาการอิสระ ผู้เข้าร่วมประชุม รองประธานเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป (นางพินทุสร แอนซ์ตี) อพม. กิตติมศักดิ์ประเทศอิตาลี (นางนุชนารถ วรรณขาว) ผู้แทน สนง.พมจ. ผู้แทน สสว. 1-11 ผู้แทนกรมในสังกัด พม. ผู้แทนหน่วยงาน ในสังกัด สป. และเจ้าหน้าที่กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม เพื่อศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งศึกษารูปแบบกระบวนการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ไซเบอร์ (Cyber Social Work) ในชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) เพื่อพัฒนาเป็นคู่มือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ไซเบอร์ ข้อเสนอรูปแบบการใช้เทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ ผ่านกลไกศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ และพระธรรมทูตในต่างประเทศ เพื่อให้บริการกลุ่มคนไทยในต่างประเทศ ให้มีช่องทางในการเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมตามภารกิจกระทรวง พม. ในหลากหลายรูปแบบ


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial