คำสั่งกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ ๔ / ๒๕๖๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะจัดทำสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ของกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เกิดการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างคุ้มค่าเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดค่าใช้จ่ายภายในหน่วยงาน สร้างจิตสำนึกและมีส่วนร่วมของบุคลากร สร้างภาพลักษณ์ที่ดี และมีการจัดการสภาพแวดล้อมในหน่วยงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ จึงแต่งตั้งคณะจัดทำสำนักงาน
สีเขียว (Green Office)


Share:



สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย

ศาลากลางจังหวัด ชั้น 2 ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0 4241 1027
โทรสาร 0 4242 2840


Share:



เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเผยแพร่ข็อมูลข่าวสารสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง(แบบ สขร.1)

ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ได้จัดทำเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ สามารถนำข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๗ และมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ของหน่วยงานเผยแพร่ผ่านเว็บไชต์ดังกล่าวได้ นั้น
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ตรวจสอบฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการแล้ว พบว่าปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐหลายแห่งคัดลอกข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลางมาเผยแพร่บนเว็บไชต์ดังกล่าวแทนการจัดทำข้อมูลตามแบบ สขร. ๑ แต่เนื่องจากข้อมูลที่หน่วยงานคัดลอกมาจากระบบ e-GP นั้นมีข้อมูสบัตรประชาชนซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างรวมอยู่ด้วย กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเกิ้นความจำเป็น ไม่สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และอาจเปิดโอกาสให้มิจฉาชีพนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการปฏิบัติเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายทั้งสองฉบับ จึงขอซักซ้อมแนวทางการเผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GP บนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยขอให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการลบข้อมูลบัตรประชาชนและเลขประจำตัวประชาชน หรือควรมีการพลางตัวเลขด้วยการ xxxx (๔x) สี่ตัวท้ายบัตรประจำตัวประชาชน ตัวอย่าง ๑๒๓๔๕๖๗๘๙xxxxและหมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑๒๓๔xxxx เป็นต้น ก่อนนำข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GP มาเผยแพร่บนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และกรุณาแจ้งหน่วยงานในสังกัดดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวโดยเคร่งครัดต่อไปด้วย จะขอบคุณยิ่ง



Share:



KICK-OFF ชั่วโมงออกกำลังกาย

วันพุธที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 15.00 น. นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำทีมบุคลากร กมพ. จำนวน 44 คน เข้าร่วมกิจกรรม KICK-OFF ชั่วโมงออกกำลังกาย เพื่อให้บุคลากรมีสุขภาวะที่ดีและสนับสนุนให้บุคลากรในสังกัดตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ และกมพ. ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นประจำทุกวันพุธ ตามนโยบาย พม.


Share:



ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ (Virtual Organization) – ประเทศเยอรมัน

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพข้ามประเทศครั้งที่ 3 เพื่อสรุปบทเรียนกรณีการให้ความช่วยเหลือหญิงไทยในการตามหาสามีชาวเยอรมัน ร่วมกับ สนง. พมจ. นครสวรรค์ อพม.ไทยในประเทศเยอรมนี และทีม พม. โดยสรุปได้ดังนี้

  1. นายเฮ็ลมูทฯ แจ้งยืนยันการมีชีวิตอยู่ในเยอรมนี แต่มีประเด็นขัดแย้งกับผู้ร้อง จึงไม่ติดต่อกลับหาผู้ร้อง
  2. เสนอแนวทางในการดำเนินการขั้นต่อไป โดยจำเป็นที่จะต้องประสานข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการหย่า และความเสี่ยงกับผู้ร้องเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยที่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ทุกหน่วยงานต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมของทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ
  3. การดูแลด้านการครองชีพ พมจ. นครสวรรค์ ได้ติดต่อไปยัง CSR เพื่อขอทุนประกอบอาชีพ มอบเครื่องอุปโภคบริโภค และอยู่ระหว่างการพิจารณาให้เงินสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาสังคมกรณีฉุกเฉิน
  4. การดำเนินงานต่อไปของ ศส.ตปท. อาจพิจารณาจัดการประชุมออนไลน์เพื่อให้ความรู้ด้านสิทธิประโยชน์แก่หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ

บทบาทที่โดดเด่นของการดำเนินงานของทีมสหวิชาชีพ​ ดังนี้

  • พมจ. นครสวรรค์ประสาน รวบรวมหลักฐานที่จำเป็นสำหรับการสอบถามข้อมูลจากสำนักงานประกันบำนาญและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้การช่วยเหลือประสานภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อขอทุนประกอบอาชีพแก่ผู้ร้อง
  • อพม. เยอรมนี ศึกษาเอกสารสำคัญต่าง ๆ หาเบาะแสในการตามหานายเฮ็ลมูทฯ ติดต่อประสานงานอย่างรวดเร็วกับหน่วยงานราชการท้องถิ่นของเยอรมนี และเครือข่ายในพื้นที่

Share:



ประชุมหารือจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในการประชุมหารือจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ(นายจักรวาล แสงแข) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (ศส.ตปท.) ณ ห้องจันทร์กะพ้อ ชั้น 19 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ได้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 18/2566 มติที่ 473/2566 เรื่อง โครงการการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมีอด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 และการดำเนินงานต่อไปเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของ หน่วยงานราชการในการจัดทำข้อตกลงบันทึกความร่วมมือฯ การขยายเครือข่ายด้านงานพิทักษ์คุณธรรม และสิทธิด้านกฎหมายระหว่างประเทศต่อไป รวมถึงการดำเนินโครงการวิจัยในปีงบประมาณ 2567 ที่ได้รับงบประมาณจาก สกสว.


Share:



ประชุมทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ (Virtual Organization) – เมืองดูไบ

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ประชุมสหวิชาชีพครั้งที่ 1 เพื่อให้ความช่วยเหลือกรณีหญิงไทยในเมืองดูไบ

ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประสบความเดือนร้อน โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ร้องขอความช่วยเหลือ เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป สมาชิกเครือข่ายฯ ทีมอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ ผู้แทนหน่วยงาน

ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

กองต่อต้านการค้ามนุษย์ กองกฎหมาย ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 กองตรวจราชการ กองการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ ศส.ตปท. เพื่อสืบข้อเท็จจริงและสรุปวางแผนทีมสหวิชาชีพให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ดังนี้

1. กองต่อต้านการค้ามนุษย์ สป.พม. มีหนังสือถึงสถานกงสุลใหญ่ ณ ประเทศดูไบ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ และติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ และทางสถานกงสุลแจ้งว่าได้ติดต่อผู้ขอรับความช่วยเหลือโดยตรงด้วยแล้ว

▶️ทีมสหวิชาชีพให้คำแนะนำหญิงไทยในดูไบฯ ว่า: ควรขอความช่วยเหลือจากกรมการกงสุลไทย ในเมืองดูไบ เพื่อป้องกันการดูหลอกจากบริษัทเอเจนซี่ต่าง ๆ

2. รองปลัดกระทรวง พม.ประสานติดตามเน้นย้ำการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ผ่านท่านทูตซาอุดิอาระเบียถึงท่านทูตดูไบด้วยแล้วทางหนึ่ง

3. ผู้ประสานงาน AAT ให้คำแนะนำผู้เสียหายต้องโทรแจ้งตำรวจท้องถิ่น เบอร์ 999 ด้วยตนเอง เพื่อระบบจับพิกัดที่ตั้งจากการโทรศัพท์ ก่อนทำการเข้าช่วยเหลือภายใน 5 ชั่วโมง

▶️หญิงไทยในดูไบฯ ยืนยันว่าได้โทรแจ้งตำรวจท้องถิ่นแล้ว 4-5 ครั้ง และจะติดตามตำรวจท้องถิ่นให้มาช่วยเหลือตามพิกัดที่ตั้งด้วยตนเอง

▶️กรณีหญิงไทยในดูไบฯ มีปัญหาทาง AAT ยินดีทำหนังสือประสานตำรวจท้องถิ่นให้ได้อีกทางหนึ่ง

▶️กรณีหากมีการช่วยเหลือออกจากสถานประกอบการที่ถูกกักขังหน่วยเหนี่ยวได้แล้ว หญิงไทยในดูไบฯ ยืนยันว่ามีที่พักคือบ้านเพื่อนมีคนช่วยเหลือเรื่องอาหาร และการเดินทางที่สามารถไปติดต่อสถานกงสุลซึ่งอยู่ห่างจากพิกัดที่ตั้งประมาณ 34 กิโลเมตรได้

4. ทีมสหวิชาชีพแนะนำหญิงไทยในดูไบฯ สามารถพูดคุยและขอความช่วยเหลือทางไลน์กลุ่ม CM ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ตลอด 24 ชม.


Share:



ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ (Virtual Organization) – ประเทศเยอรมัน

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพครั้งที่ 3 ข้ามประเทศ เพื่อสรุปบทเรียนกรณีวัดไทยในเยอรมนีถูกฉ้อโกง (ต่อเนื่อง) ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทีมอัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป อพม.ไทยในประเทศเยอรมนี และทีม พม. โดยสรุปได้ดังนี้

  • เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 10.00 น. พนักงานอัยการสฝคป. ได้เข้าพบผู้กำกับการกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม และพนักงานสอบสวน เพื่อแจ้งข้อเท็จจริงเบื้องต้นในคดีนี้ที่เกิดขึ้น และสอบถามถึงวิธีการแจ้งความร้องทุกข์ต่าง ๆ ในคดีนี้
  • เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 พนักงานอัยการสฝคป. ได้ร่างหนังสือมอบอำนาจและส่งมอบร่างหนังสือของพระมหาอนุศักดิ์ จันทร์โอ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและความถูกต้องครบถ้วน ให้นายวีระ จันทร์โอ ซึ่งเป็นน้องชายของผู้เสียหายให้แจ้งดำเนินคดีความในประเทศไทย
  • เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 พนักงานอัยการสฝคป. ประสานทีมพนักงานสอบสวนให้นายวีระ จันทร์โอ น้องชายของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจในประเทศไทยได้เข้ายื่นหนังสือแจ้งความ ณ กองบังคับการปราบปราม เวลา 11.00 – 19.00 น.

โดยสรุปผลการประชุมทีมสหวิชาชีพ​ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

  • ทีมอัยการสนง.อัยการสูงสุดและทีมอัยการสฝคป.ให้แนวทางการดำเนินคดีว่าควรแจ้งความดำเนินคดีทั้งที่ประเทศเยอรมันและประเทศไทย​ และควรแจ้งความให้ทันภายในระยะเวลากำหนด​
  • ทีมอัยการสฝคป.ได้ประสานอำนวยความสะดวกหลายประการจนทำให้ผู้เสียหายสามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้น้องชายเข้าแจ้งความที่กองบังคับการปราบปราม เสร็จทันภายในระยะเวลา 17 วัน (รวมวันหยุดราชการ) หลังจากประชุมทีมสหวิชาชีพครั้งที่ 2 ​ในวันที่ 20 กันยายน 2566

Share:



ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ (Virtual Organization)

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 เวลา 15.30 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย พระธรรมทูตไทยในประเทศเยอรมนี และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กองการต่างประเทศ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 กองตรวจราชการ กองต่อต้านการค้ามนุษย์ กองกฎหมาย สป.พม กองกิจการอาสาสมัครและภาคประชาสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประธานเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป และสมาชิกเครือข่ายฯ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (ศส.ตปท.)

กรณีการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในต่างประเทศ จำนวน 2 กรณี ดังนี้

  • กรณีหญิงไทยที่ถูกนำพาไปทำงานเป็นพนังงานนวดในประเทศเบนิน ทวีปแอฟริกา
  • กรณีคนไทยฉ้อฉลหลอกลวงวัดไทย (องค์กรสาธารณประโยชน์) เมืองดอร์ทมุนด์ หพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ผู้เข้าร่วมประชุมทราบถึงสภาพปัญหาข้างต้น เกิดความร่วมมือในการช่วยเหลือและป้องกันปัญหาสังคม ทั้งนี้เครือข่ายหญิงไทยในต่างประเทศกล่าวชื่นชนต่อการจัดประชุมฯ และรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ

โดยทั้งนี้ ศส.ตปท. จัดทำหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามภารกิจ และจัดตั้งกลุ่มไลน์เฉพาะกรณีCM วัดไทยในเยอรมัน เพื่อช่วยเหลือด้านกฎหมายและติดตามการดำเนินการต่อไป


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial