กมพ. ร่วมประชุมวางแผนช่วยเหลือแบบบูรณาการโดย กคช. และ พอช. ดูแลด้านที่พักอาศัยผู้ประสบอัคคีภัยในพื้นที่ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ เขตปทุมวัน

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ.กมพ. ร่วมกับสำนักงานเขตปทุมวัน ผู้แทนกรมต่างๆ ได้แก่ ผส. พส. พก. ดย. พอช. และหัวหน้าบ้านมิตรไมตรี (ห้วยขวาง) ได้ร่วมประชุมวางแผนช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยในพื้นที่ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ เขตปทุมวัน จากข้อมูลการสำรวจของ สำนักงานเขตปทุมวัน ณ วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 พบว่าผู้เสียหายจำนวน 91 หลังคาเรือน 188 ครอบครัว (จาก 462 หลังคาเรือน) ประกอบด้วย ไฟไหม้ครึ่งหลัง 46 ครอบครัว ไฟไหม้ทั้งหลัง 125 ครอบครัว เพิกถอดหนังสือ 5 ครอบครัวและรอตรวจสอบ 12 ครอบครัว โดยมีมูลนิธิต่างๆ เข้ามาสนับสนุนเงินและเครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมอาหารเป็นจำนวนมากทั้งนี้หน่วยงาน พม. ร่วมสำรวจข้อมูลเพื่อจำแนกสถานะของผู้เสียหายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565

ทั้งนี้ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 กมพ. จะจัดประชุมเพื่อจัดทำแผนช่วยเหลือแบบบูรณาการโดย กคช. และ พอช. ดูแลด้านที่พักอาศัย หลังระยะวิกฤติ ผส. พส. พก. ดย. และบ้านมิตรไมตรี (ห้วยขวาง) ดูแลระยะสั้นด้านเงินสงเคราะห์ ช่วยเหลือระยะกลางการฟื้นฟูอาชีพ และระยะยาวการพัฒนาคุณภาพชีวิตมิติต่างๆ


Share:



กมพ. วางแผนการช่วยเหลือและพื้นฟูผู้ประสบอัคคีภัยหลังภาวะวิกฤติ โดยร่วมมือกับ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และสำนักงานเขตปทุมวัน

เมื่อเช้าวันที่ 27 มิถุนายน 2565 กมพ. นำทีมโดย ผอ.กมพ. ณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ลงพื้นที่รับฟังความต้องการความช่วยเหลือของประชาชนที่ได้รับอัคคีภัยชุมชน เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ เขตปทุมวัน ณ ศูนย์ พักพิงเยาวชนบ่อนไก่ พร้อมด้วย ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตปทุมวัน นางสาวศศิธร เจริญสุข และ นางสาวศรีสุรีย์ จิระธนาโชติ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เจ้าหน้าที่ศูนย์สาธารณสุข 16 ลุมพินี นายพยนต์ มัทวานุกูล บ้านมิตรไมตรีห้วยขวางและคณะเจ้าหน้าที่ กมพ.

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ วางแผนการช่วยเหลือและพื้นฟูผู้ประสบอัคคีภัยหลังภาวะวิกฤติ โดยร่วมมือกับ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และสำนักงานเขตปทุมวัน ในด้านที่พักอาศัย และค่าใช้จ่ายเบื้องต้นของแต่ละครัวเรือน พร้อมทั้ง ประสานหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ เตรียมข้อมูลลงพื้นที่ให้การสนับสนุนสวัสดิการพื้นฐาน อีกครั้งในวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ณ สำนักงานบ้านมิตรไมตรี ห้วยขวาง


Share:



ประชุมหารือโครงการสำคัญปี 2567 ของ กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.)

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมการะเวก กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) โดยนางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ.กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) พร้อม ผอ.กลุ่ม/ฝ่าย ในกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) ได้ประชุมหารือโครงการสำคัญปี 2567 โดยสรุปประเด็นการหารือดังกล่าวได้ดังนี้

1. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคคลากรปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายตามที่องค์การกำหนดมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

2. องค์ความรู้ (Knowledge management – KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจากข้อมูลไปสู่สารสนเทศเพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด

3. ข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยที่ข้อเสนอเชิงนโยบายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเพื่อการพัฒนาเมืองยั่งยืนในประเทศไทย

4. สารสนเทศ (Information) ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

5. แพลตฟอร์ม (Platform) การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทุกๆกิจกรรมเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้งาน

โดยการประชุมหารือในครังนี้ทบทวนแผนงานเกี่ยวกับแนวทางและการดำเนินงานปรับปรุงดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ และงานวิจัยเพื่อให้สอดคล้องตามหลักวิชาการและมีทิศทางการดำเนินงานที่ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตต่อไป


Share:



โครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill (การประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ณ จังหวัดอทัยธานี)

เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถนะรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill ภายใต้กิจกรรมการประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ร่วมกับ จังหวัดอุทัยธานี และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี นางศรีสุดา เถาเมืองใจ พมจ.อุทัยธานี กล่าวต้อนรับ และ
นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ.กมพ. กล่าวรายงาน

การจัดประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพจัดระหว่างวันที่ ๓๐ ถึง ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรมสุขทวี รีสอร์ท กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทนผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยง เขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงภูเหม็น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต ตัวแทนผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ตำบลน้ำรอบ อำเภอลากสัก ตัวแทนกลุ่มจักสาน บ้านท่าขะอม ตำบลเขากวางทอง อำเภอหนองฉาง ตัวแทนผ้าทอกะเหรี่ยง เขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงแม่ดีน้อย ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ และผู้เกี่ยวข้อง รวม ๑๐๐ คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการ Upskill/Reskill กลุ่มเป้าหมายให้พัฒนาศักยภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัว


Share:



โครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill (การประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ณ จังหวัดพิจิตร)

เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถนะรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill ภายใต้กิจกรรมการประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ร่วมกับ จังหวัดพิจิตร และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี นางสาวพรประภา สินธุนาวา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวรายงาน

การจัดประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพจัดระหว่างวันที่ ๒ ถึง ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมมีพรสวรรค์ แกรนด์ โฮเทล & รีสอร์ท กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทนผลิตภัณฑ์ทอผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากผ้า ต.ทุ่งใหญ่ อ.โพธิ์ประทับช้าง ตัวแทนผลิตภัณฑ์น้ำพริกบ้านห้วยภุก ต.ห้วยพุก อ.ดงเจริญ ตัวแทนผลิตภัณฑ์แปรรูปผลไม้ ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก ตัวแทนผลิตภัณฑ์แปรรูปใบจิกและตะไคร้หอม ต.บ้านบุ่ง อ.เมือง และผู้เกี่ยวข้อง รวม ๑๐๐ คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการ Upskill/Reskill กลุ่มเป้าหมายให้พัฒนาศักยภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัว


Share:



โครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill (การประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ณ จังหวัดตาก)

เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ นายกันตพงศ์ รังสีสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถนะรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill ภายใต้กิจกรรมการประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ร่วมกับ จังหวัดตาก และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี นางสาวพรประภา สินธุนาวา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวรายงาน

การจัดประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพจัดระหว่างวันที่ ๖ ถึง ๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมเวียงตากริเวอร์ไซด์ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทนผลิตภัณฑ์ทอผ้ากะเหรี่ยงหมักโคลน บ้านทีกะเป๋อ ต.ช่องแคบ อ.พบพระ ตัวแทนผลิตภัณฑ์สานใบลาน บ้านปากร้องห้วยจี้ ต.ตากออก อ.บ้านตาก ตัวแทนผลิตภัณฑ์กาแกสดมูเซอ อาราบิก้า โรบัสต้า MuserCoffee ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด ตัวแทนผลิตภัณฑ์มอเสื่อกก บ้านหนองนกปีกกา ต.โป่งแดง อ.เมือง และผู้เกี่ยวข้อง รวม ๑๐๐ คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการ Upskill/Reskill กลุ่มเป้าหมายให้พัฒนาศักยภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัว


Share:



ทดสอบ

ทดสอบทดสอบทดสอบทดสอบ


Share:



การเสวนาโต๊ะกลมเสมือนจริง (Virtual Talk & Round table)

กมพ. โดย ศส.ตปท. จัดประชุม zoom ร่วมกับสถานทูต กรมการกงศุล เครือข่ายคนไทย ประเทศนอร์เวย์ มีผู้ลงทะเบียนร่วมประชุมออนไลน์จาก 7 ประเทศ
(นอร์เวย์ อิตาลี เยอรมัน ไทเป ฮ่องกงมาเลเซีย และไทย) เพื่อ พัฒนาระบบกลไกเครือข่ายคนไทยข้ามชาติและองค์ความรู้ในการช่วยเหลือคนไทยตามภารกิจ พม.

วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๐๐ น (เวลา ณ ประเทศนอร์เวย์ ๐๙.๐๐ น.) กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมุษย์ โดย กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) และศูนย์ส่งเสริม และประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (ศส.ตปท.) จัดเสวนาโต๊ะกลมเสมือนจริง (Virtual Talk & Round table) “กระทรวง พม. พบ เครือข่ายพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศพื้นที่ประเทศนอร์เวย์”โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อผลกระทบด้านสังคมสถานการณ์ไวรัส 2019 (COVID-19) และแนวทาง การพัฒนากลไกเครือข่ายคนไทยในต่างประเทศเพื่อการจัดสัสดิการสังคมตามภารกิจกระทรวง พม.


Share:



ประชุมทบทวนแผนปฏิบัติการ ปี 2564 รายกลุ่ม ครั้งที่ 3 : กลุ่มประสาน สสว.(กลุ่ม กสว.)

วันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 กมพ.ประชุมทบทวนแผนปฏิบัติการ ปี 2564 รายกลุ่ม ครั้งที่ 3 : กลุ่มประสาน สสว.(กลุ่ม กสว.)

?สรุปเป้าหมายงานปี 2564

?ทบทวน positioning กสว. เป็นสำนักงานเลขาขับเคลื่อนงาน สสว.ภายใต้การกำกับตรงของ ปพม. ดังนั้น กสว.นอกจากจะสนับสนุนงานด้านธุรการแบบที่ผ่านมา ควรสนับสนุนองค์ความรู้และทรัพยากรให้ สสว.สามารถปฏิบัติหน้าที่ เขตได้อย่างสมบูรณ์ เช่น จัดกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้งานวิจัย เครื่องมืองานสังคมสงเคราะห์ที่จำเป็นในสถานการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง แนวคิดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ในขณะเดียวกันต้องสามารถรวบรวมผลงาน ที่เป็นข้อเสนอที่ สสว.ควรส่งเสริมสนับสนุนจังหวัด และ สรุปถอดบทเรียนพร้อมข้อเสนอเขิงนโยบายเพื่อผู้บริหารกระทรวงใช้กำหนดทิศทางการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และชี้ trend /ทิศทางในการวิจัย/การเฝ้าระวัง/การเตือนภัย จากข้อมูลที่ กมพ.ดำเนินงานอให้สสว.ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานด้านวิชาการของ สสว.

?การจัดทำงบประมาณของ กสว.ให้ชัดเจน จำแนกให้ถูกต้องตามภารกิจและ timeline

และต้องไม่ดำเนินการเอง ลงนามในหนังสือถึง สสว.เองโดยเฉพาะเรื่องหลักการ/เรื่องงบประมาณให้หารือ ผอ.กมพ.ก่อนเสมอ และเสนอ ปพม.เพื่อพิจารณา

?การประเมินความคุ้มค่าของ สสว.ตามที่ กพร.สั่งการเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเกลี่ยงบประมาณ ให้จัดทำรายละเอียดเพื่อหารือ ปพม.ก่อนดำเนินการขออนุมัติหลักการอย่างเป็นทางการ

?การจัดประชุม สสว.ประจำเดือน ให้จัดให้มีชุดองค์ความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนกับ สสว.ทุกครั้ง และให้นำข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยที่จัดทำเดือนละ 4 ครั้ง แจ้งให้ที่ประชุมทราบและนำไปขยายผลในกลุ่มจังหวัดอย่างกว้างขวาง

?ประสานกองตรวจราชการตามนโยบาย ปพม.เรื่อง สสว.เป็นหน่วยติดตามประเมินผลการดำเนินงานของ สนง.พมจ. เพื่อร่วมจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน/แบบรายงาน ให้ สสว.และจังหวัดรับทราบถูกต้องตรงกัน


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial