ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ (Virtual Organization) – ประเทศเยอรมัน

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพครั้งที่ 3 ข้ามประเทศ เพื่อสรุปบทเรียนกรณีวัดไทยในเยอรมนีถูกฉ้อโกง (ต่อเนื่อง) ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทีมอัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป อพม.ไทยในประเทศเยอรมนี และทีม พม. โดยสรุปได้ดังนี้

  • เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 10.00 น. พนักงานอัยการสฝคป. ได้เข้าพบผู้กำกับการกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม และพนักงานสอบสวน เพื่อแจ้งข้อเท็จจริงเบื้องต้นในคดีนี้ที่เกิดขึ้น และสอบถามถึงวิธีการแจ้งความร้องทุกข์ต่าง ๆ ในคดีนี้
  • เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 พนักงานอัยการสฝคป. ได้ร่างหนังสือมอบอำนาจและส่งมอบร่างหนังสือของพระมหาอนุศักดิ์ จันทร์โอ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและความถูกต้องครบถ้วน ให้นายวีระ จันทร์โอ ซึ่งเป็นน้องชายของผู้เสียหายให้แจ้งดำเนินคดีความในประเทศไทย
  • เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 พนักงานอัยการสฝคป. ประสานทีมพนักงานสอบสวนให้นายวีระ จันทร์โอ น้องชายของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจในประเทศไทยได้เข้ายื่นหนังสือแจ้งความ ณ กองบังคับการปราบปราม เวลา 11.00 – 19.00 น.

โดยสรุปผลการประชุมทีมสหวิชาชีพ​ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

  • ทีมอัยการสนง.อัยการสูงสุดและทีมอัยการสฝคป.ให้แนวทางการดำเนินคดีว่าควรแจ้งความดำเนินคดีทั้งที่ประเทศเยอรมันและประเทศไทย​ และควรแจ้งความให้ทันภายในระยะเวลากำหนด​
  • ทีมอัยการสฝคป.ได้ประสานอำนวยความสะดวกหลายประการจนทำให้ผู้เสียหายสามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้น้องชายเข้าแจ้งความที่กองบังคับการปราบปราม เสร็จทันภายในระยะเวลา 17 วัน (รวมวันหยุดราชการ) หลังจากประชุมทีมสหวิชาชีพครั้งที่ 2 ​ในวันที่ 20 กันยายน 2566

Share:



ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ (Virtual Organization)

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 เวลา 15.30 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย พระธรรมทูตไทยในประเทศเยอรมนี และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กองการต่างประเทศ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 กองตรวจราชการ กองต่อต้านการค้ามนุษย์ กองกฎหมาย สป.พม กองกิจการอาสาสมัครและภาคประชาสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประธานเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป และสมาชิกเครือข่ายฯ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (ศส.ตปท.)

กรณีการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในต่างประเทศ จำนวน 2 กรณี ดังนี้

  • กรณีหญิงไทยที่ถูกนำพาไปทำงานเป็นพนังงานนวดในประเทศเบนิน ทวีปแอฟริกา
  • กรณีคนไทยฉ้อฉลหลอกลวงวัดไทย (องค์กรสาธารณประโยชน์) เมืองดอร์ทมุนด์ หพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ผู้เข้าร่วมประชุมทราบถึงสภาพปัญหาข้างต้น เกิดความร่วมมือในการช่วยเหลือและป้องกันปัญหาสังคม ทั้งนี้เครือข่ายหญิงไทยในต่างประเทศกล่าวชื่นชนต่อการจัดประชุมฯ และรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ

โดยทั้งนี้ ศส.ตปท. จัดทำหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามภารกิจ และจัดตั้งกลุ่มไลน์เฉพาะกรณีCM วัดไทยในเยอรมัน เพื่อช่วยเหลือด้านกฎหมายและติดตามการดำเนินการต่อไป


Share:



ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ (Virtual Organization) ต่อเนื่อง

วันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 15.30 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ประชุมทีมสหวิชาชีพข้ามประเทศ ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทีมอัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และทีม พม. เพื่อช่วยเหลือวัดไทยในเยอรมันนี ถูกฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ และปลอมแปลงเอกสาร สูญเงินบริจาค ทองคำ และทรัพย์สินอื่นๆรวมมูลค่า 20,726,665 บาท (ยี่สิบล้านเจ็ดแสนสองหมื่นหกพันหกร้อยหกสิบห้าบาทถ้วน) โดยสรุปแนวทางช่วยเหลือ ดังนี้

1. เครือข่ายหญิงไทยในยุโรปรับประสานรัฐบาลท้องถิ่นในเบอร์ลินตรวจสอบการขึ้นทะเบียนเป็นโนทาร์ของผู้กระทำความผิด

2. ศส.ตปท.ตรวจสอบรายชื่อการขึ้นทะเบียนทนายความโนตารี พับลิค (Notary Public)Notary Public Onsite Service ในประเทศไทยกับสภาทหายความแห่งประเทศไทย

3. แนะนำให้ดำเนินคดีในประเทศเยอรมันนีหากผู้เสียหายและผู้กระทำผิดรวมถึงพยาน/หลักฐานส่วนใหญ่อยู่ในเยอรมันนี

4. กรณีที่ประสงค์ดำเนินคดีในประเทศไทย เพราะผู้กระทำผิดมีแผนเดินทางกลับประเทศไทย

5. เรื่องการจัดทำหนังสือแจ้งเวียนวัดต่างๆ/ชุมชนในเยอรมันนีให้เฝ้าระวัง ให้ส่งร่างหนังสือมาให้ทีมอัยการพิจารณาแนะนำก่อนเพื่อป้องกันการฟ้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาท

6. กรณีการร้องขอรับการชดใช้ทรัพย์สินคืน ตามมาตร 44/1 ศาลจะพิพากษาความผิดและขมวดท้ายเรื่องการติดตามชดใช้ทรัพย์ให้แก่ผู้เสียหายอยู่แล้ว เพื่อดำเนินการตามลำดับต่อไป

7. ทางสำนักงาน พศ.และสำนักงาน สคช.ยินดีให้คำแนะนำปรึกษาเพิ่มเติม ผ่านกลุ่มไลน์ CM เยอรมันนีที่ ศส.ตปท.ตั้งเพื่อการประสานงาน


Share:



กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดการฝึกอบรมการใช้มาตรวัดทางสังคมเพื่อการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย

กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดการฝึกอบรมการใช้มาตรวัดทางสังคมเพื่อการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม ภาณุรังษี โรงแรมเดอะรอยัลริเวอร์ โฮเทล กรุงเทพฯ โดยมี นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิด มีผู้เข้ารับการอบรมได้แก่ ผู้แทนกรมทุกกรม/เทียบเท่า ผู้แทนกองพัฒนานโยบายและนวัตกรรมทางสังคม ผู้แทนกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ผู้แทนศูนย์ช่วยเหลือสังคม ผู้แทนกองตรวจราชการ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ และผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมจำนวน 120 คน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รณรงค์ จันใด รองคณบดีฝ่ายบริหารและผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะทำงาน เป็นวิทยากร

“ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. ดังนั้น แนวทางการเฝ้าระวัง และรายงานสถานการณ์ทางสังคม เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบายสังคม การจัดสวัสดิการสังคม และการพัฒนาสังคมของประเทศ” (นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

การฝึกอบรมครั้งนี้ เป็นการฝึกอบรมการจัดทำมาตรวัดทางสังคม เทคนิคการดึงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล อันนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพให้ผู้เข้าอบรมสามารถจัดทำมาตรวัดทางสังคม และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมตามภารกิจของหน่วยงานที่สังกัด และไม่ได้เป็นประโยชน์เพียงแค่เรื่องการจัดทำรายงาน ฯ เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์สถานการณ์ในด้านต่าง ๆ อันนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีความแหลมคม


Share:



ประชุมหารือจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้ แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เมื่อวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในการประชุมหารือจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ณ ห้องประชาบดี ชั้น 19 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ผู้แทนฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของเถรสมาคมสำนักงานคณะกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.) สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (มหานิกาย) สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้อำนวยการกองมาตรฐาน การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 18/2566 มติที่ 473/2566 เรื่อง โครงการการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมีอด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 และการดำเนินงานต่อไปเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของ หน่วยงานราชการในการจัดทำข้อตกลงบันทึกความร่วมมือฯ รวมถึงการดำเนินโครงการวิจัยในปีงบประมาณ 2567 ที่ได้รับงบประมาณจาก สกสว. และแผนการดำเนินงานโครงการวิจัย ในปีงบประมาณ 2568


Share:



การขับเคลื่อนการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ ครั้งที่ 2/2566

วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมประชาบดี ชั้น 19 กระทรวง พม.

รายงานผลความร่วมมือการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ และงานสาธารสงเคราะห์ในประเทศตามแนวทาง “บวร” โดย รอง ปพม. ท่านกันตพงษ์ รังษีสว่าง นำคณะ พม. เข้าถวายสักการะเจ้าประคุณสมเด็จมหาวีรวงศ์ วัดราชบพิตรฯ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ให้แนวทาง กระทรวง พม. เสนอเรื่องการพัฒนาสังคมไทยเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคม ซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธาน เพื่อมอบแนวปฏิบัติภาพรวมคณะสงฆ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอาจไม่ต้องทำ MOU กับคณะสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ใช้มติเถรสมาคมขับเคลื่อนงานในบทบาทพระสงฆ์ที่ประชุมรับทราบและให้ข้อเสนอแนะผลงานวิจัยเพื่อออกแบบโครงสร้างการขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมือของวัดไทย/พระธรรมทูตทั่วโลกในต่างประเทศ ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ หน่วยงานระดับกรม/ภูมิของ พม. และ one home รวมถึงแนวทางการบูรณาการงานสาธารณสงเคราะห์กับงาน กระทรวง พม. ในประเทศไทย โดย ผศ.รณรงค์ จันใดรองคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้คำแนะนำการเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคม สรุปดังนี้

  • การเสนอเรื่องควรทำเป็นหนังสือจากกระทรวง พม. ถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมเอกสารที่จะนำเข้าประชุม โดยไม่ต้องตั้งคณะทำงานกลั่นกรอง
  • กระทรวง พม. ควรมีหนังสือถึงประธานสงฆ์ทั้งสองนิกายเพื่อนำเรียนเรื่องนำเข้ามหาเถรสมาคม เพื่อเจ้าประคุณสมเด็จทั้งสองฝ่ายรับทราบและสนับสนุนเมื่อถึงคราววาระที่ต้องพิจารณาในมหาเถรสมาคม
  • กระทรวง พม. ควรขอเข้าถวายสักการะและสรุปสาระสำคัญเรื่องที่จะนำเข้ามหาเถรสมาคม โดยตรงกับเจ้าประคุณสมเด็จทั้งสองฝ่ายก่อนเข้ามหาเถรสมาคม
  • การพิจารณาเรื่อง MOU หลังจากมีมติมหาเถรสมาคมแล้ว หากพิจารณาดำเนินการแนะนำให้ทำเฉพาะหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานความร่วมมือในเชิงปฏิบัติการ ที่ไม่เกี่ยวกับอำนาจปกครองของคณะสงฆ์

Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial