สรุปผลการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสมุดพกครอบครัวให้เป็นเครื่องมือในการนำเข้าข้อมูลในระบบ MSO Logbook เพื่อการวางแผนในฐานะ policy maker


วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ทีมวิจัยโครงการวิจัยการพัฒนาระบบตรวจสอบคุณสมบัติกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิ์รับความช่วยเหลือจากกระทรวง พม. (กมพ./สวทช./ศ.ระพีพรรณ/อ.โสภา/ดร.ขนิษฐา)
❤️บอกได้ว่า 1 คน/ครอบครัว/ครัวเรือน มีสิทธิบริการอะไรตามข้อมูลบุคคลและปัญหาความต้องการ
❤️แสดงข้อมูลทางเลือกโมเดลการนำบริการ พม.มาออกแบบระบบการจัดการรายครัวเรือน( FCM:Family Case Management)
❤️แสดงแผนระยะวิกฤต/ระยะสั้น/ระยะต่อเนื่องได้
❤️แสดงค่าใช้จ่ายในการจัดบริการตามภารกิจ พม.ได้(Cost)
❤️มีชุดข้อมูลรายละเอียดบริการ พม.ทั้งบริการประชาชน 72 บริการ แบะบริการสนับสนุน 33 บริการ (ชื่อบริการ ขั้นตอนการใช้บริการ work flow /ระเบียบ/กฎหมาย/หลักฐาน/ช่องทางการยื่นคำขอ)
————————————
ข้อเสนอวิจัย : 💕❤️นำเข้าข้อมูลครบถ้วน พม.จะเป็นเจ้าภาพด้านสังคมที่ smart และใช้งานได้กว้างขวางในฐานะ policy makers ❤️💕
————————————
สรุปการทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่ดำเนินการในพื้นที่ศึกษา 12 จังหวัด 24 ตำบล 1,500 กลุ่มตัวอย่าง
ระบบสมุดพกครอบครัวเดิมเมื่อนำเข้าข้อมูล 1-4 สามารถพัฒนาสร้างเงื่อนไขให้ AI ตรวจสอบคุณสมบัติกับระเบียบ/หลักเกณฑ์ที่กำหนด
————————————
❤️ผล❤️
1️⃣ระบบแสดงรายการข้อมูล 1 คน /ครอบครัว/ครัวเรือน มีสิทธิ์รับบริการตามภารกิจ พม.เรื่องใดบ้าง
✅ระบบแสดงผลโดยสามารถจำแนกระดับเปราะบาง/มิติที่เกี่ยวข้องใน 5 มิติ
✅นักสังคมสงเคราะห์/ข้าราชการใหม่/อพม. สามารถรับทราบรายการข้อมูลบริการที่ครบถ้วนตามคุณสมบัติกลุ่มเป้าหมาย ไม่เฉพาะจ่ายเงินสงเคราะห์ (เห็นทางเลือกครบถ้วน)
✅เกิดค่างานนักสังคมสงเคราะห์เนื่องจากต้องใช้ทักษะวินิจฉัยและเลือกบริการที่เหมาะสมอย่างมืออาชีพ

2️⃣ระบบสามารถพัฒนาโดยสร้างเงื่อนไขให้ทำแผนการจัดการรายบุคคล/ครอบครัว/ครัวเรือนได้ (FCM:Family Case Management)
✅ระบบสามารถสร้างเงื่อนไขให้จำแนกบริการตามข้อ 1 ที่กลุ่มเป้าหมายมีสิทธิรับบริการ เป็นรายการข้อมูลทางเลือกจำแนกเป็นโมเดลการวางแผนช่วยเหลือระยะวิกฤต(ต้องช่วยภายใน 3 วัน) /ระยะสั้น(ต้องช่วยภายใน 3 เดือน) และระยะต่อเนื่อง(ช่วยในระยะที่มากกว่า 3 เดือน)
✅ระบบสามารถประมาณการค่าใช้จ่าย(Cost) การจัดสวัสดิการตามแผนระยะวิกฤต/ระยะสั้น/ระยะต่อเนื่อง

3️⃣การตรวจสอบและยืนยันระบบฐานข้อมูลภาพรวมกระทรวง เพื่อเป็นฐานข้อมูลชุดสมบูรณ์ทุกบริการตามภารกิจของกระทรวง พม.
✅พม.มีบริการที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยตรงถึงประชาชน จำนวน 12 บริการ จำแนกรายกรม/มิติ 5 มิติได้
✅พม.มีบริการสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคม เข่น งานการออกใบอนุญาตสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน รวม 33 บริการ
————————————


Share:



ความร่วมมือของหน่วยงานระดับกองใน สป.พม.ที่ร่วมคิด และ(น่าจะ)ร่วมทำงาน เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ สร้างสรรค์ของ พม.

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 : ห้องจำปีสิรินธร ประชุมวางแผนการผลักดันโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรบุคลากร พม. ปี 2566 (ได้งบแล้ว 500,000 บาท) และ Roadmap การพัฒนาศักยภาพบุคลากร พม. ในระบบ coaching ปี 2567-2570

1.) มุ่งหวังเพื่อวางกระบวนงานcoachให้ one home

  • เกิด One heart One plan
  • เกิดวัฒนธรรมความร่วมมือทุกระดับ
  • เกิดวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่น จากพื้นที่สำเร็จสู่พื้นที่อื่นๆ
  • เกิดบรรยากาศการเขิดชูเกียรติที่มาจากความภาคภูมิใจในอาชีพและความเป็น พม.

2.) ขอความร่วมมือหน่วยงานใน สป.พม. กองกลาง/กตร./สถาบันฯ) สสว.และ พมจ.ทุกจังหวัด

  • สนับสนุนและมีส่วนร่วมวางระบบหลักสูตรในปี 2566
  • ร่วมเป็นเจ้าภาพขับเคลื่อน Roadmap การพัฒนาทักษะบุคลากร พม. ปี 2567-2570 ให้ smart พร้อมทำงานแบบก้าวหน้าเชิงนโยบาย บนฐานการสร้างความร่วมมือเชิงปฏิบัติการไม่ใช่เพียง MOU ในกระดาษ พร้อมรุกในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและเต็มไปด้วยข้อจำกัด

Share:



ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือหญิงไทยผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน (เคสประเทศเยอรมัน)

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยนางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ในฐานะ ผอ.ศส.ตปท. ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพประกอบด้วย ประธานเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป และคณะ อพม.ในประเทศอังกฤษ ผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. อาทิ สค. พส. พก. กต. ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 พมจ.อุบลราชธานี และเจ้าหน้าที่ ศส.ตปท. เพื่อให้ความช่วยเหลือหญิงหม้ายไทย ซึ่งสามี ชาวเยอรมันเสียชีวิต และยังเข้าไม่ถึงสิทธิและสวัสดิการที่พึงได้รับจากประเทศเยอรมนี และประสบปัญหาความเดือดร้อนขาดรายได้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในครอบครัว รายนางสาวปัทมา วิททิค อายุ 44 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนางสาวปัทมาฯ เข้าร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมได้สอบถามสภาพความเป็นอยู่ ปัญหาและความต้องการของผู้เดือดร้อน เพื่อประกอบการให้คำแนะนำปรึกษาด้านกฎหมาย แนวทางการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ ทั้งจากประเทศเยอรมนี และประเทศไทย การกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เดือดร้อน ทั้งนี้ ทีมสหวิชาชีพทุกภาคส่วนได้แบ่งมอบภารกิจเพื่อให้ความช่วยเหลือตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน และจะได้ประสานความร่วมมือเพื่อติดตามความคืบหน้าผลการให้ความช่วยเหลือในระยะต่อไป


Share:



แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570

ด้วยพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 44(3) กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีหน้าที่และอำนาจ จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อกำหนดและกำกับทิศทางในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 โดยใช้แนวทางตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 โดยให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพเพียงพอในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรองรับความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยมุ่งเน้นให้ คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูง เพียงพอในการพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนพร้อมสู่อนาคต และสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก

https://www.tsri.or.th/content/31/thailand-sr-plan/


Share:



ประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์องค์ความรู้และถอดบทเรียนเพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมพื้นที่ กทม.

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2566 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พร้อมด้วย นางชญาภา นิธิญาณิน ผอ. กลุ่มการพัฒนามาตรฐานทางสังคม ซึ่งเป็นตัวแทนของ พม. ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์องค์ความรู้ และถอดบทเรียนประสบการ์ณ์ เพื่อยกระดับกระบวนการมีส่วนร่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ณ โรงแรม รอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานครโดยในที่ประชมได้มีการสรุปผลกระบวนการพัฒน่านโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม พื้นที่กรุงเทพม่หานคร รวมทั้งผลักดันให้เกิดแผนปฏิบัติการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนกรุงเทพ ทั้งเชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงประเด็น (5 มิติตาม TPMAP) ผ่านการขับเคลื่อนมติ์สมัชชาสุขภาพ กทม.ครั้งที่ 4 ยกระดับงานพิธีการสู่ปฏิบัติการจริง ต่อไป


Share:



การประชุมเชิงปฏิบัติการ และจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อระดมความเห็นรูปแบบและกระบวนการในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้โครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 12 – วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องพัชราวดี 1-2 ชั้น 11 โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ กระทรวง พม. กมพ. ร่วมกับ มธ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ และจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อระดมความเห็นรูปแบบและกระบวนการในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้โครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ ซึ่งได้รับงบประมาณจาก สกสว. ในรูปแบบการประชุมแบบเผชิญหน้า และผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting โดยมีที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคม กระทรวง พม. (นางสาวซาราห์ บินเย๊าะ) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม พร้อมมอบนโยบาย ขับเคลื่อนดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย พระญานวชิรวงศ์ เลขานุการประธาน สนง.กำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ มจร. และคณะ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตตโม, ผศ.ดร. รองอธิการบดี ด้านวิจัยและนวัตกรรม มมร. และคณะ ผู้แทนเครือข่ายหญิงไทย ในยุโรป ผู้แทน สนง.พมจ. ผู้แทน สสว. 1-11 ผู้แทนกรมในสังกัด พม. ผู้แทนหน่วยงาน ในสังกัด สป. และเจ้าหน้าที่ กมพ.

วัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ ศึกษารูปแบบและกระบวนการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ไซเบอร์ (Cyber Social Work) ในชุมชนเสมือนจริง Virtual Organization เพื่อนำไปสู่ การพัฒนาคู่มือกระบวนการปฏิบัติงานฯ ในระยะต่อไป

ที่ประชุมได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1. รูปแบบและกระบวนการในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2. ผลกระทบและปัญหาอุปสรรคของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่อการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ 3. การนำเทคโนโลยีไซเบอร์เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่กลุ่มเป้าหมาย และ 4. ข้อเสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีไซเบอร์ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าวจะได้สรุป และคืนข้อมูลต่อที่ประชุมในวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566 และนำไปสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางในการพัฒนาคู่มือกระบวนการปฏิบัติงานปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ไซเบอร์ (Cyber Social Work) ในชุมชนเสมือนจริง (Virtual Organization)


Share:



พิธีเจริญพระพุทธมนต์ (บทโพชณังคปริตร) ถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าห้าพัชร กิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

วันที่ 5 มกราคม 2565 เวลา 14.00 น. ข้าราชการเจ้าหน้าที่ กมพ.รวม 10 คน เข้าร่วมกิจกรรมของกระทรวง พม. ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ (บทโพชณังคปริตร) ถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าห้าพัชร กิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 2 พส.


Share:



“ประชุมโครงการการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ ครั้งที่ 1/2566”

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมจันทร์กะพ้อ กระทรวง พม. กมพ. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) จัดประชุมหารือขับเคลื่อนการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวง (นาวสาวอุไร เล็กน้อย) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม พร้อมมอบนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยร่วมกับ พระมงคลธรรมวิธาน,ผศ.ดร. รองอธิการบดี มมร. วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตตโม,ผศ.ดร. รองอธิการบดี มมร. ด้านวิจัยและนวัตกรรม พร้อมทั้งผู้บริหาร บุคลากร มมร. เข้าร่วมประชุม

วัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อขยายความร่วมมือภายใต้โครงการการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติให้ครอบคลุมคณะสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย โดยเชิญ มมร. เป็นตัวแทนสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

ที่ประชุมได้มีการพิจารณาทบทวนร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ โดยเพิ่มองค์กรที่ร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ จำนวน 4 องค์กร ได้แก่ สำนักกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูต (ธรรมยุต) โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข หนกลาง และ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พร้อมทบทวนแผนปฏิบัติการฯ และ ร่างคำสั่งคณะกรรมการฯ เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือ

กำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกันต่อไปโดยกระทรวง พม. นำส่งสรุปรายงานการประชุมครั้งนี้เพื่อผู้เกี่ยวข้องทราบ การขอวาระงานเพื่อเสนอผู้บริหาร พม. เข้ากราบถวายสักการะท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และเชิญ มมร. เข้าร่วมประชุมร่วมกับ มจร. และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ในโอกาสต่อไป


Share:



ตรวจหาสารเสพติดภายในกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วันพุธที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 1 1.30 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินการตามนโยบายและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตร์ในปฏิบัติการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายรัฐบาล ประจำปีงบ ประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะเร่งด่วน 3 เดือน (1 พ. ย. 65 – 30 ม.ค. 66) โดยดำเนินการ ตามมาตรการปราบปรามยาเสพติด

ด้วยการสำรวจและตรวจสอบข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการยาเสพติด ทั้งการเป็นผู้สพ ผู้ติด หรือเข้าไปเกี่ยวข้อง กับยาเสพติด ผลการตรวจสอบปรากฏว่าไม่พบสารเสพติดภายในหน่วยงาน


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial