
Share:
การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายธนสุนทร สว่างสาลี) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อยกร่าง MOU ว่าด้วย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางการเสริมความเข้มแข็งของ “บวร” ระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่าง กระทรวงการต่างประเทศ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
ในช่วงเช้าคณะผู้ศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมาแลกเปลี่ยนผลการศึกษาและข้อเสนอในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมประสิทธิภาพองค์กรในการปฏิบัติการช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ คณะผู้บริหารจาก มจร. มาแลกเปลี่ยน เรื่องพระธรรมทูตในต่างประเทศและบทบาทพระสงฆ์ในการเป็นกลไกกลางในต่างประเทศ เชื่อมประสานกับ พม.(ศส.ตปท.) และหน่วยปฏิบัติการด้านการจัดบริการสวัสดิการสังคมในประเทศไทย
ช่วงบ่ายเป็นการร่วมกันจัดทำข้อเสนอเพื่อทำความร่วมมือ ระหว่าง พม.กับ มจร. กระทรวงการต่างประเทศ และภาคีเครือข่าย ในเรื่องต่อไปนี้
การยกระดับงานพระธรรมทูตและองค์พระธรรมทูตให้เป็นกลไกประสานงายเพื่อดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคม/การสังคมสงเคราะห์ในต่างประเทศ
การสร้าง/พัฒนาหลักสูตรพระธรรมทูตและหลักสูตรสาขาสังคมสงเคราะห์ให้ผู้เรียนคือ พระธรรมทูต/พระสงฆ์/ฆราวาสที่สนใจ เรียนเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มทักษะการให้บริการประชาขนที่มีขอรับความช่วยเหลือให้มีประสิทธิภาพทั้งในและต่างประเทศ
การยกระดับเครือข่ายพระสงฆ์ทั้งในและต่างประเทศ เป็น “อพม.พระสงฆ์” ภายใต้แนวคิด “บวร” (บ้าน วัด ราชการ) เนื่องจากพระใกล้ชิดประชาขนและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
Share:
เมื่อวันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุม ๒๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร พระโสภณวชิราภรณ์, ดร. อัคคมหาบัณฑิต รก.รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นประธานการประชุมร่างกรอบทำ MOU ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) กับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยคณาจารย์และผู้บริหารทางการศึกษาของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) คณะสังคมศาสตร์ และวิทยาลัยพระธรรมทูต โดยมี นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ ศ.ระพีพรรณ คำหอม เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันในการจัดทำร่าง MOU ระหว่าง มจร. กับ พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
มจร.ขอหารือผู้บริหาร พม. ก่อนวันที่ 9 กันยายน 2565 เพื่อนำ ร่าง MOU เสนอสภามหาวิทยาลัย มจร.วันที่ 9 กันยายน 2565
ท่านเจ้าคุณรองอธิการ มจร. เสนอให้ทำ MOU ร่วมกันในช่วงวันสถาปนากระทรวง พม. ทางสงฆ์จะเชิญพระขั้นผู้ใหญ่มาร่วมลงนามกับ พม.
Share:
การเสนอคำของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการงานวิจัย
Share:
วันแห่งความเท่าเทียมของผู้หญิงตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิ์ในการออกเสียงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 1920 หรือเมื่อปี พ.ศ. 2463
รายงานประจำปี (2019-2020) Progress of the World’s Women ของ UN Women เปิดเผยว่าผู้หญิง 3 ล้านคนทั่วโลก ยังคงดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่การถูกคู่สมรสข่มขืนเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย และราว 1 ใน 5 ของประเทศทั่วโลกยังมีกฎหมายมรดกที่แตกต่างกันระหว่างชาย-หญิง และผู้หญิง ใน 19 ประเทศ ทั่วโลกยังถูกบังคับให้ต้องเชื่อฟังผู้เป็นสามีอยู่ และยังพบว่า 1 ใน 3 ของสตรีที่แต่งงานในประเทศกำลังพัฒนาแทบจะไม่มีประกันสุขภาพเป็นของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ในรายงานฉบับนี้พบความก้าวหน้าเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในหลายด้าน เช่น อายุเฉลี่ยของการแต่งงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและอัตราการเกิดที่ลดลงซึ่สะท้อน ถึงการที่สตรีต้องการเพิ่มพูนการศึกษาเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานและหารายได้เลี้ยงชีพตนเองมากขึ้น
Share:
(ภายใต้โครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์)
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมละความมั่นคงของมนุษย์ (นายธนสุนทร สว่างสาลี) กล่าวเปิด “การประชุมวางกรอบการทำงานวิจัยโครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์” (ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕) ในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องจันทร์กะพ้อ ชั้น ๑๙ อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบเรื่องการดำเนินโครงการวิจัยโครงการการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2565 จาก สกสว. ในการวางกรอบแนวทางการวิจัยเนื่องจากเป็นโครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีไซเบอร์ต่องานสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงต้องมีการวางกรอบให้งานวิจัยให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้มากที่สุด โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วยผู้แทนหน่วยงานระดับกรม/เทียบเท่า สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑-๑๑ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมการกงสุลผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ กมพ. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทีมวิจัยของโครงการ ได้แก่ นักวิจัยร่วม ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภุชงค์ เสนานุช รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ รณรงค์ จันใด รองคณบดีฝ่ายบริหาร จากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งสินจำนวน ๓๐ คน
Share:
วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 07.30 น. นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมเจ้าหน้าที่เข้าร่วมทำบุญตักบาตร (พระสงฆ์ 9 รูป) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ณ บริเวณลานพระประชาบดี อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
Share:
เมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนยุทธศาสตร์งานวิจัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2560-2564 ณ ห้องประชาบดี ชั้น 19 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมี นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์หน่วยงานระดับกรม/เทียบเท่า/แนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัยของหน่วยงานสังกัดกระทรวง และจัดทำข้อเสนอเพื่อการยกร่างแผน ววน. กระทรวง พม. 2566-2570 ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานระดับกรม/เทียบเท่า ผู้แทนสสว. 1-11 ผู้แทนสำนักงาน พมจ. ผู้แทน สป.พม. และ วิทยากร จำนวน 70 คน
Share:
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ.กมพ. พร้อมด้วย นางชญาภา นิธิญาณิน Mr.เขต ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชน เขตปทุมวัน ร่วมกับ ผู้แทน กทม. และหน่วยงานสังคม พม. ประชุมติดตามการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอัคคีภัย ชุมชนบ่อนไก่พัฒนา เขตปทุมวัน ดังนี้
กทม. รายงานยอดครัวเรือนที่ประสบอัคคีภัยพบ ยอดเปลี่ยนแปลงจาก 188 ครอบครัว เป็น 224 ครัวเรือน ซึ่งได้ปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้ว โดยส่วนใหญ่ได้ไปหาที่เช่าอื่นบริเวณใกล้เคียง และไม่ประสงค์รับบริการของ กคช. เพราะอยู่ไกล
บ้านมิตรไมตรี(ห้วยขวาง) สอบข้อเท็จจริง 140 ครอบครัว ที่หลักฐานตรงกันทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายพัฒนาสังคม 46 ราย เสนอ คกก.พิจารณาเงินอุดหนุนแล้วเมื่อ 4 ก.ค. รายละ 3,000 บาท เป็นเงิน 138,000บาท
ผส.เตรียมช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ ผส.ในภาวะยากลำบาก จำนวน 15 ราย รายละ 3,000 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท คาดว่าสามารถโอนได้ปลายเดือน ก.ค. 65
กคช. ช่วยเหลือน้ำประปา 500 คิวมูลค่า 12,000 บาท /มอบถุงยังชีพให้ผู้ได้รับผลกระทบ(ลูกค้าการเคหะ) 5 ราย มูลค่า 2,500 บาท/ช่วยน้ำดื่ม 1,000 ขวด มูลค่า 5,000 บาท /อบรมการป้องกันและเผชิญเหตุให้ลูกบ้านการเคหะโครงการพระราม4 เตรียมให้บริการห้องเช่าราคาถูกในโครงอาคารเช่าพรพระร่วงประสิทธิ์ และอาคารเช่าซื้อ โครงการตลาดไท
พก. ช่วยเงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ 6 ราย เป็นเงิน 18,000 บาท รอยืนยันหลักฐาน 1 ราย รอการประเมินความพิการเพื่อจดทะเบียนคนพิการและพิจารณาช่วยเหลือ 5 ราย เตรียมสนับสนุนวีลแชร์ 2 ราย ประสาน กทม.กรณีเรื่องหลักเกณฑ์ซ่อมบ้านคนพิการต่อไป
พอช. ช่วยเหลือตามโครงการบ้านชั่วคราวกรณีไฟไหม้ไล่รื้อ จำนวน 84 ครัวเรือน รายละ 18,000 บาท(ค่าเช่า 6 เดือนๆละ 3,000 บาท) โดยจะทำพิธีมอบในวันที่ 8 ก.ค. 2565 รวมกลุ่มเพื่อวางแผนฟื้นฟู 8 กลุ่ม และจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ของทั้ง 84 ครัวเรือน เพื่อดำเนินการตามแนวทางบ้านมั่นคงในอนาคต
บพด.กทม. ร่วมลงพื้นที่ศูนย์พักพิง และเตรียมพิจารณาคุ้มครองสิทธิเด็กในครอบครัวที่ประสบอัคคีภัยจำนวน 36 ครอบครัว 46 คน ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ที่ประชุมพิจารณา คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน
ก่อนเสนอ ปพม.พิจารณา และขอความร่วมมือ กทม.แจ้งรายชื่อผู้ปฏิบัติงานตามคำสั่งขอความ
ร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานแผน/ผลอย่างเป็นทางการภายในวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 65
ท่าน ผว.กทม.ได้หารือการ ผว.กคช.เมื่อวันที่ 5 ก.ค. เพื่อวางระบบชุมชนภาพรวมในอนาคต
Share:
เมื่อวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่กองมาตรฐานกลุ่มการพัฒนามาตรฐานทางสังคม ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับ ดร.ญาณิน จิวะกิดาการ หุยากรณ์ และคณะทำงาน ณ ห้อง ประชุมการะเวกชั้น 9 A กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อหารือแนวทางการจัดทำโครงการวิจัยระบบรายงานสถานการณ์เพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม
Share: