ร่วมหารือเพื่อขับเคลื่อนงานจัดตั้ง”ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน”

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วย นางชญาภา นิธิญาณิน ผอ.กลุ่มการพัฒนามาตรฐานทางสังคม ร่วมกับ ดร.เมธาวี ธารดำรงค์ สมาชิกสภากรุงเทพฯ เขตปทุมวัน และประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เขตปทุมวันพร้อมคณะ ร่วมหารือเพื่อขับเคลื่อนงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน โดยจะร่วมจัดตั้ง “ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเขตปทุมวัน” พร้อมทั้งแผนการดำเนินการ และการพัฒนาบุคลากร อพม. ให้มีทักษะและองค์ความรู้ในการจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเปราะบาง และพร้อมเป็นหน่วยสนับสนุนการดำเนินงาน ร่วมกับ พม. ต่อไป


Share:



การอบรมเชิงปฎิบัติการหลักจริยธรรมพื้นฐานและการพิจารณาโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดอบรมเชิงปฎิบัติการหลักจริยธรรมพื้นฐานและการพิจารณาโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ณ ห้องจันทร์กะพ้อ ชั้น 19 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting โดยมี นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานเปิดการอบรม และนางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กล่าวรายงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การขับเคลื่อนระบบการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมของกระทรวง พม. เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้แทนระดับกรม/เทียบเท่า ผู้แทน สสว.1-11 และวิทยากรจากชมรมจริยธรรมการวิจัยคนในประเทศไทย ประกอบด้วย ดร.อโณทัย โภคาธิกรณ์ พ.อ.ผศ.นพ.นิธิพันธ์ สุขสุเมฆ ผศ.ดร.วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา และ รศ.ดร.ประทุม สร้อยวงศ์ รวมจำนวน 70 คน


Share:



กมพ. ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริง และติดตามสถานการณ์การช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย ณ ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบ่อนไก่

ในวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 นางชญาภา นิธิญาณิน ผอ.กลุ่มการพัฒนามาตรฐานทางสังคม ปฎิบัติหน้าที่แทน ผอ.กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ(ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กทม. และบ้านมิตรไมตรีห้วงขวาง) ร่วมกับ สำนักงานเขตปทุมวัน ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และติดตามสถานการณ์การช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย ณ ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบ่อนไก่ โดยผู้ประสบภัย จำนวน 188 ครัวเรือน ได้รับการเยียวยาด้านค่าใช้จ่าย เครื่องอุปโภคบริโภค จากภาคเอกชนและมูลนิธิ อาทิ ธ.ออมสิน, มูลนิธิปอเต็กตึ้ง ร่วมกับมูลนิธิ/สมาคมจีนต่างๆ, มูลนิธิพุทธสมาคมปทุมรังสี, มูลนิธิธรรมอิสระ, บริษัทมังกรฟ้า, บริษัท Hatari, บริษัท OTTO ฯลฯ

ทั้งนี้ กมพ. ร่วมกับสำนักงานเขตปทุมวัน และประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรุงเทพมหานคร ได้หารือเพื่อวางแผนบูรณาการเยียวยาด้านที่พักอาศัยให้ผู้ประสบภัยหลังจากได้ข้อสรุปจำนวนผู้ต้องการที่อยู่อาศัยที่ชัดเจน โดย กมพ. จะจัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเขตปทุมวัน กคช. และ พอช. ฯลฯ ต่อไป


Share:



กมพ. หารือแนวทางการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมเขตปทุมวันในอนาคต

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สป.พม. นำทีมร่วมพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับประธานและผู้จัดการมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน แห่งประเทศไทย เพื่อหารือแนวทางการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมเขตปทุมวันในอนาคต ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการบูรณาการงานร่วมกันในการพัฒนากลุ่มเป้าหมายที่เจ็บป่วยเรื้อรังในพื้นที่ระยะยาว


Share:



กมพ. ร่วมประชุมวางแผนช่วยเหลือแบบบูรณาการโดย กคช. และ พอช. ดูแลด้านที่พักอาศัยผู้ประสบอัคคีภัยในพื้นที่ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ เขตปทุมวัน

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ.กมพ. ร่วมกับสำนักงานเขตปทุมวัน ผู้แทนกรมต่างๆ ได้แก่ ผส. พส. พก. ดย. พอช. และหัวหน้าบ้านมิตรไมตรี (ห้วยขวาง) ได้ร่วมประชุมวางแผนช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยในพื้นที่ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ เขตปทุมวัน จากข้อมูลการสำรวจของ สำนักงานเขตปทุมวัน ณ วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 พบว่าผู้เสียหายจำนวน 91 หลังคาเรือน 188 ครอบครัว (จาก 462 หลังคาเรือน) ประกอบด้วย ไฟไหม้ครึ่งหลัง 46 ครอบครัว ไฟไหม้ทั้งหลัง 125 ครอบครัว เพิกถอดหนังสือ 5 ครอบครัวและรอตรวจสอบ 12 ครอบครัว โดยมีมูลนิธิต่างๆ เข้ามาสนับสนุนเงินและเครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมอาหารเป็นจำนวนมากทั้งนี้หน่วยงาน พม. ร่วมสำรวจข้อมูลเพื่อจำแนกสถานะของผู้เสียหายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565

ทั้งนี้ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 กมพ. จะจัดประชุมเพื่อจัดทำแผนช่วยเหลือแบบบูรณาการโดย กคช. และ พอช. ดูแลด้านที่พักอาศัย หลังระยะวิกฤติ ผส. พส. พก. ดย. และบ้านมิตรไมตรี (ห้วยขวาง) ดูแลระยะสั้นด้านเงินสงเคราะห์ ช่วยเหลือระยะกลางการฟื้นฟูอาชีพ และระยะยาวการพัฒนาคุณภาพชีวิตมิติต่างๆ


Share:



กมพ. วางแผนการช่วยเหลือและพื้นฟูผู้ประสบอัคคีภัยหลังภาวะวิกฤติ โดยร่วมมือกับ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และสำนักงานเขตปทุมวัน

เมื่อเช้าวันที่ 27 มิถุนายน 2565 กมพ. นำทีมโดย ผอ.กมพ. ณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ลงพื้นที่รับฟังความต้องการความช่วยเหลือของประชาชนที่ได้รับอัคคีภัยชุมชน เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ เขตปทุมวัน ณ ศูนย์ พักพิงเยาวชนบ่อนไก่ พร้อมด้วย ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตปทุมวัน นางสาวศศิธร เจริญสุข และ นางสาวศรีสุรีย์ จิระธนาโชติ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เจ้าหน้าที่ศูนย์สาธารณสุข 16 ลุมพินี นายพยนต์ มัทวานุกูล บ้านมิตรไมตรีห้วยขวางและคณะเจ้าหน้าที่ กมพ.

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ วางแผนการช่วยเหลือและพื้นฟูผู้ประสบอัคคีภัยหลังภาวะวิกฤติ โดยร่วมมือกับ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และสำนักงานเขตปทุมวัน ในด้านที่พักอาศัย และค่าใช้จ่ายเบื้องต้นของแต่ละครัวเรือน พร้อมทั้ง ประสานหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ เตรียมข้อมูลลงพื้นที่ให้การสนับสนุนสวัสดิการพื้นฐาน อีกครั้งในวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ณ สำนักงานบ้านมิตรไมตรี ห้วยขวาง


Share:



ประชุมหารือโครงการสำคัญปี 2567 ของ กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.)

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมการะเวก กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) โดยนางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผอ.กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) พร้อม ผอ.กลุ่ม/ฝ่าย ในกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) ได้ประชุมหารือโครงการสำคัญปี 2567 โดยสรุปประเด็นการหารือดังกล่าวได้ดังนี้

1. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคคลากรปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายตามที่องค์การกำหนดมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

2. องค์ความรู้ (Knowledge management – KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจากข้อมูลไปสู่สารสนเทศเพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด

3. ข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยที่ข้อเสนอเชิงนโยบายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเพื่อการพัฒนาเมืองยั่งยืนในประเทศไทย

4. สารสนเทศ (Information) ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

5. แพลตฟอร์ม (Platform) การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทุกๆกิจกรรมเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้งาน

โดยการประชุมหารือในครังนี้ทบทวนแผนงานเกี่ยวกับแนวทางและการดำเนินงานปรับปรุงดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ และงานวิจัยเพื่อให้สอดคล้องตามหลักวิชาการและมีทิศทางการดำเนินงานที่ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตต่อไป


Share:



โครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill (การประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ณ จังหวัดตาก)

เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ นายกันตพงศ์ รังสีสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถนะรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill ภายใต้กิจกรรมการประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ร่วมกับ จังหวัดตาก และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี นางสาวพรประภา สินธุนาวา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวรายงาน

การจัดประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพจัดระหว่างวันที่ ๖ ถึง ๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมเวียงตากริเวอร์ไซด์ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทนผลิตภัณฑ์ทอผ้ากะเหรี่ยงหมักโคลน บ้านทีกะเป๋อ ต.ช่องแคบ อ.พบพระ ตัวแทนผลิตภัณฑ์สานใบลาน บ้านปากร้องห้วยจี้ ต.ตากออก อ.บ้านตาก ตัวแทนผลิตภัณฑ์กาแกสดมูเซอ อาราบิก้า โรบัสต้า MuserCoffee ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด ตัวแทนผลิตภัณฑ์มอเสื่อกก บ้านหนองนกปีกกา ต.โป่งแดง อ.เมือง และผู้เกี่ยวข้อง รวม ๑๐๐ คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการ Upskill/Reskill กลุ่มเป้าหมายให้พัฒนาศักยภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัว


Share:



การประชุมเตรียมขับเคลื่อนงานวิจัยที่ กมพ.รับผิดชอบโดยตรง 5 ล้านบาทเศษ

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 กมพ. จัดประชุมเตรียมขับเคลื่อนงานวิจัยที่ กมพ.
รับผิดชอบโดยตรง 5 ล้านบาทเศษ เป็นชุดโครงการ ร่วมกันกับทุกกลุ่มใน กมพ.
กำหนดกรอบการขับเคลื่อนงานร่วมกันและมอบหมายทุกกลุ่มร่วมรับผิดชอบโครงการ

สรุปกรอบแนวทาง ดังนี้

?โครงการวิจัย 1: (กลุ่มมาตรึม) พัฒนาหลักสูตรและชุดองค์ความรู้ ที่เหมาะสมกับภารกิจ พม. เพื่อใช้อบรมนักวิจัยของ พม. เพื่อ พม. เป็น พม.style ไม่ใช่หลักสูตรสอนทำวิจัยทั่วไป (พม.มีหลักสูตร/ชุดองค์ความรู้วิจัยทางสังคมของกระทรวงฯ เอง เพื่อใช้พัฒนาวิจัยของ
กระทรวงฯ ระยะยาว)

? โครงการวิจัย 2: (กลุ่มวิเคราะห์และเฝ้าระวังฯ)การพัฒนานักวิจัยระดับเชี่ยวชาญ มาออกแบบงานวิจัยระดับปฏิบัติการ มีผลผลิตเป็นงานวิจัยในรูปแบบ รายงานสถานการณ์
ทางสังคม (สถาบันการศึกษาจะมากำหนดเกณฑ์/ตัวชี้ที่สามารถนำมาแสดงสถานการณ์
ทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำแนกทุกกลุ่มเป้าหมาย แล้วนำมาปฏิบัติการวิจัยจริงเป็น งานวิจัยสถานการณ์ทางสังคมระดับจังหวัด สสว.ทำวิจัยระดับกลุ่มจังหวัดได้ กรมใช้ทำระดับกลุ่มเป้าหมาย (รายงานสถานการณ์สังคมจะมีชีวิตสามารถนำไปใช้ได้จริงทุกระดับ)

?โครงการที่ 3: (กลุ่มวิจัยฯ)การถอดบทเรียนรู้ วางระบบการบริหารงานวิจัยภาพรวมกระทรวง พม. ได้ผลผลิตเป็น การจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารงานวิจัยกระทรวงพม. ปี 2565-2569 แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนงานวิจัยกระทรวง พม . และทบทวนระเบียบ/หลักเกณฑ์การบริหารงานวิจัยให้สอดคล้องกับที่ ววน./สกว.กำลังดำเนินการให้สอดคล้องกัน (ทำให้เกิดระบบงานวิจัยที่มี impact ต่อกระบวนการขับเคลื่อนกระทรวงได้ทางหนึ่งตามนโยบาย ปพม.)

?โครงการที่ 4: (ศส.ตปท.) การพัฒนาระบบงานวิจัยร่วมกับเครือข่ายและบูรณาการการวิจัยสังคมร่วมกับนักวิจัยและเครือข่ายระดับท้องถิ่น เลือกเครือข่ายที่ บพท.ให้ทุนวิจัย TPMAP เพื่อศึกษารูปแบบการบูรณาการงานวิจัยแบบ R&D ทำให้ได้ model การแก้ปัญหาความยากจนด้วยทางหนึ่ง ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับ ม.ราชภัฎสุรินทร์และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (ทำงานนี้เหมือนยิงนกนัดเดียวได้งานทั้งระบบ


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial