การประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนและพื้นที่ต้นแบบ (จังหวัด) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเปราะบาง และทดลองใช้ระบบนิเทศ ติดตามและประเมินผล ภาคเหนือ

กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนและพื้นที่ต้นแบบ (จังหวัด) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเปราะบาง และทดลองใช้ระบบนิเทศ ติดตามและประเมินผล ภาคเหนือ ในวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมท็อปแลนด์จังหวัดพิษณุโลก และผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings จาก พมจ. ทุกจังหวัดและทุก สสว.โดยมี รอง ปพม. (ท่านอนันต์ ดนตรี) เป็นประธานและบรรยายพิเศษในการประชุมครั้งนี้นางอรนุช ชัยชาญ พมจ.พิษณุโลก กล่าวต้อนรับ กล่าวรายงานโดย นายไพบูลย์ นาคเจือ ผอ.กลุ่มวิเคราะห์ฯผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยทีมวิทยากร ทีมวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้แทนทีม พม.หนึ่งเดียวจากจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิจิตร และเจ้าหน้าที่ กมพ.


Share:



การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย งานวิจัย และนวัตกรรม ครั้งที่ 1/2567

ในวันพุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป นายอนันต์ คนตรี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย งานวิจัย และนวัตกรรมครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมจันทร์กะพ้อ ชั้น 19 A อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยนางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประชุม ดังนี้
1. เพื่อรับทราบผลการดำเนินงาน และการปิดโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2.เพื่อทราบความก้าวหน้าผลการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
3. เพื่อทราบผลการดำเนินงานโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567
4.เพื่อรับทราบข้อมูลโครงการวิจัยที่เสนอขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2568
5. เพื่อพิจารณาผลงานวิจัย และนวัตกรรมสำคัญ เพื่อชี้แจงต่อสำนักงบประมาณและคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งที่ประชุมมีมติคัดเลือกผลงานวิจัยที่สำคัญ เพื่อเสนอปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ความเห็นชอบส่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 5 ผลงาน จากหน่วยงานในสังกัดประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 การเคหะแห่งชาติและกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ


Share:



การอบรมเชิงปฏิบัติการนักวิจัยระดับเชี่ยวชาญ

ในวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 15.30 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการนักวิจัยระดับเชี่ยวชาญ ณ โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯพร้อมมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรม จำนวน 30 คน โดยมีนางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้การต้อนรับ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่รับผิดชอบงานด้านวิจัยให้มีทักษะความรู้เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ บทความงานวิจัย เพื่อเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือนำเสนอในเวทีวิชาการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่ง ในการส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยของกระทรวงไปใช้ประโยชน์โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรม ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานระดับกรม / เทียบเท่า ผู้ปฏิบัติงานจากสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 บุคลากรและเจ้าหน้าที่กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยได้มีการนำผลงานวิจัยที่หน่วยงานจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ เมื่อปี 2564-2565 มาฝึกปฏิบัติการเขียนเป็นบทความวิจัย และบทความวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 17 เรื่องในการนี้ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ทักษะการทำงานด้านการวิจัย เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการทำงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต ผลงานวิจัยจะเป็นข้อมูลสำคัญทางวิชาการในการสนับสนุนนโยบายขององค์กรให้มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ รวมถึงการวิจัยะสร้างนวัตกรรมทางสังคมใหม่ เพื่อเป็นเครื่องมืในการพัฒนางานและพัฒนาองค์กรให้เท่าทันต่อสถานการณ์ยิ่งขึ้น จึงขอให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาตนเอง เพื่อการพัฒนางานต่อไป


Share:



กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดประชุมโครงการวิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนาระบบนิเทศ ติดตาม และสร้างเกณฑ์การประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเปราะบาง

ในวันที่ 26 มกราคม 2567 เวลา 08.30 – 15.00 น. ณ ห้องวังสะพานขาว ชั้น 18 โซนบีอาคารกระทรวง wม. และผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาระบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผล เพื่อการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเปราะบางให้สามารถใช้เป็นเกณฑ์สำหรับชี้วัดสถานภาพครัวเรือนเปราะบางของกระทรวง พม.ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิซาการ (สสว.) 1 – 11 ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ผู้แทนกองตรวจราชการ นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ กมพ. ที่เกี่ยวข้อง


Share:



การประชุมฝ่ายปฏิบัติการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ ครั้งที่ 1/2567วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม 2567ในรูปแบบการประชุมเผชิญหน้าและการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM CLOUD MEETINGS

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. นายอนันต์ คนตรี รองปลัดกระทรวง พม.เป็นประธานการประชุมฝ่ายปฏิบัติการศูนย์ส่งเสริมและ ประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมวังสะพานขาว ชั้น 18 โซนบี อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรูปแบบการประชุมเผชิญหน้าและการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZO0M CLOUD MEETINGS มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน ศส.ตปท. อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานใน กระทรวง พม. และผู้แทน สสว. 1-11 สรุปผลการประชุมได้ ดังนี้

1.รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

2. รับทราบแผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

3. พิจารณา (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านงานสาธารณสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4. พิจารณา เ(ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงนสหวิชาชีพเพื่อการพัฒนาสังคมไทยและช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศตามภารกิจกระทรวงพม.

5. พิจารณา (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (ศส.ตปท.)ทั้งนี้ ประธานฯ ขอให้ฝ่ายเลขานุการประสานหน่วยงาน เพื่อรับข้อเสนอ ปรับแก้ไขและเร่งติดตามรายชื่อคณะทำงานตามคำสั่งฯ ภายในเดือนมกราคม 2567 และผลักคันให้วาระการพิจารณาเกิดอย่างเป็นรูปธรรม และแจ้งเวียนแต่ละหน่วยงานเพื่อให้ทราบและถือปฏิบัติ


Share:



การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนางานวิจัยแบบ R2R และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายจากฐานข้อมูลกลางรายงานสถานการณ์ทางสังคมของกระทรวง พม.

วันพุธที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. นายอนันต์ ดนตรี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประรานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนางานวิจัยแบบ R2R และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายจากฐานข้อมูลกลางรายงานสถานการณ์ทางสังคมของกระทรวง wม. ณ ห้องมิ่งเมือง โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมีนางณัฐสุรีย์ อศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ผม. ให้สามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลกลางรายงานสถานการณ์ทางสังคมเพื่อพัฒนาสู่การจัดทำ Policy Brief และขยายผลต่อยอดสู่งานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนางานและพัฒนาสังคม กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบการจัดทำข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคมของ สนงพมจ. ทั้ง 76 จังหวัด ผู้รับผิดชอบการจัดทำข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัดและงานวิจัยของ สสว. 1-1 และเจ้าหน้าที่กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งรับผิดชอบการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับประเทศ และงานวิจัยเพื่อการพัฒนา รามทั้งสิ้น 110 คน ซึ่งกิจกรรมการระดมสมอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้นที่ประชุมจะทำให้เกิดผลกระทบสำคัญคือ กระทราง ผม. มีข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคมที่สามารถนำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือแผนงาน/โครงการ เพื่อการแก้ไขป้องกัน ฟื้นฟู และพัฒนากลุ่มเป้าหมายทั้งระดับครอบครัชุมซนและสังคม และทำให้บุคลากรในหน่วยงานสามารถยกระดับงานประจำมาทำเป็นงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนางาน พัฒนากลุ่มเป้าหมาย และพัฒนาสังคมต่อไป


Share:



กาารประชุมคณะทำงานด้านการรับมือและปรับตัวของกลุ่มเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1 / 2567

ในวันอังคารที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 16.00 น. นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ

ความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานด้านการรับมือและปรับตัวของกลุ่มเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศในส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1/2567 เพื่อมอบนโยบาย กรอบแนวทางการดำเนินงาน กำหนดบทบาทปฏิทินการดำเนิน

งานของคณะทำงานฯ ให้การขับเคลื่อนงานบรรลุตามเป้าหมาย โดยมีผู้แทนจากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ทั้งส่วนกลาง

และส่วนภูมิภาค ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นคณะทำงานเข้าร่วมการประชุม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. คณะทำงานทุกหน่วยงานรายงานผลการดำเนินงาน แผ่นงาน/โครงการ/กิจกรรม/คู่มือ แนวปฏิบัติ และให้ข้อเสนอแนะ

ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการขับเคลื่อนองค์กรสีเขียว (Green Office)

2. ความพร้อมของหน่วยงานในส่วนภูมิภาค เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการรับมือและปรับตัวของกลุ่มเปราะบาง

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในส่วนภูมิภาค และการขับเคลื่อนองค์กรสีเขียว ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. การมอบหมายให้ทุกหน่วยงานจัดส่งข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำ (ร่าง) คู่มือด้านการรับมือและปรับตัวของกลุ่มเปราะบาง

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย 1) คู่มือ/แนวปฏิบัติ/แผนการจัดการภัยพิบัติในการดูแลกลุ่มเปราะบาง

ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ 2) ประเภทของภัยพิบัติต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมาย/ภารกิจ 3) คู่มือ/แนวปฏิบัติ/แผน

งาน/โครงการ/กิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสีเขียว 4) แผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม โดยจัดส่งข้อมูลตาม

ข้อ 3 ให้กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะคณะทำงานและเลขานุการ เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์

นำสู่การจัดทำ (ร่าง) คู่มือฯ เพื่อเป็นแนปฏิบัติของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ที่มีความเป็นเอกภาพ มีระบบการติดตามประเมินผลและรายงานผล รวมถึงนำไปสู่การประกาศเจตนารมย์การเป็นองค์กร

สีเขียวของกระทรวง พม. ในระยะต่อไป


Share:



การประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เป็นประธาน การประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและ

นวัตกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. – 12.00 น.

ณ ห้องประชุมจำปีสิรินธร ชั้น 19 A อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ในรูปแบบเผชิญหน้า และรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom Cloud Meetings)

โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนกรมกิจการเด็กและเยาวชน ผู้แทนการเคหะแห่งชาติ

ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิซาการ 1 – 11 และเจ้าหน้าที่กอง

มาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 40 คน โดยการประชุมได้ชี้แจงแนวทาง

ปฏิบัติเพื่อขับเคลือนการดำเนินงานเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กิจกรรมการดำเนินงานด้านการวิจัย และการพัฒนาทักษะบุคลากร

รวมถึงการชี้แจงแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์


Share:



การขับเคลื่อนการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ ครั้งที่ 2/2566

วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมประชาบดี ชั้น 19 กระทรวง พม.

รายงานผลความร่วมมือการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ และงานสาธารสงเคราะห์ในประเทศตามแนวทาง “บวร” โดย รอง ปพม. ท่านกันตพงษ์ รังษีสว่าง นำคณะ พม. เข้าถวายสักการะเจ้าประคุณสมเด็จมหาวีรวงศ์ วัดราชบพิตรฯ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ให้แนวทาง กระทรวง พม. เสนอเรื่องการพัฒนาสังคมไทยเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคม ซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธาน เพื่อมอบแนวปฏิบัติภาพรวมคณะสงฆ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอาจไม่ต้องทำ MOU กับคณะสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ใช้มติเถรสมาคมขับเคลื่อนงานในบทบาทพระสงฆ์ที่ประชุมรับทราบและให้ข้อเสนอแนะผลงานวิจัยเพื่อออกแบบโครงสร้างการขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมือของวัดไทย/พระธรรมทูตทั่วโลกในต่างประเทศ ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ หน่วยงานระดับกรม/ภูมิของ พม. และ one home รวมถึงแนวทางการบูรณาการงานสาธารณสงเคราะห์กับงาน กระทรวง พม. ในประเทศไทย โดย ผศ.รณรงค์ จันใดรองคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้คำแนะนำการเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคม สรุปดังนี้

  • การเสนอเรื่องควรทำเป็นหนังสือจากกระทรวง พม. ถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมเอกสารที่จะนำเข้าประชุม โดยไม่ต้องตั้งคณะทำงานกลั่นกรอง
  • กระทรวง พม. ควรมีหนังสือถึงประธานสงฆ์ทั้งสองนิกายเพื่อนำเรียนเรื่องนำเข้ามหาเถรสมาคม เพื่อเจ้าประคุณสมเด็จทั้งสองฝ่ายรับทราบและสนับสนุนเมื่อถึงคราววาระที่ต้องพิจารณาในมหาเถรสมาคม
  • กระทรวง พม. ควรขอเข้าถวายสักการะและสรุปสาระสำคัญเรื่องที่จะนำเข้ามหาเถรสมาคม โดยตรงกับเจ้าประคุณสมเด็จทั้งสองฝ่ายก่อนเข้ามหาเถรสมาคม
  • การพิจารณาเรื่อง MOU หลังจากมีมติมหาเถรสมาคมแล้ว หากพิจารณาดำเนินการแนะนำให้ทำเฉพาะหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานความร่วมมือในเชิงปฏิบัติการ ที่ไม่เกี่ยวกับอำนาจปกครองของคณะสงฆ์

Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial