โครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill (การประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ณ จังหวัดพิจิตร)

เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถนะรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill ภายใต้กิจกรรมการประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ร่วมกับ จังหวัดพิจิตร และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี นางสาวพรประภา สินธุนาวา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวรายงาน

การจัดประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพจัดระหว่างวันที่ ๒ ถึง ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมมีพรสวรรค์ แกรนด์ โฮเทล & รีสอร์ท กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทนผลิตภัณฑ์ทอผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากผ้า ต.ทุ่งใหญ่ อ.โพธิ์ประทับช้าง ตัวแทนผลิตภัณฑ์น้ำพริกบ้านห้วยภุก ต.ห้วยพุก อ.ดงเจริญ ตัวแทนผลิตภัณฑ์แปรรูปผลไม้ ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก ตัวแทนผลิตภัณฑ์แปรรูปใบจิกและตะไคร้หอม ต.บ้านบุ่ง อ.เมือง และผู้เกี่ยวข้อง รวม ๑๐๐ คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการ Upskill/Reskill กลุ่มเป้าหมายให้พัฒนาศักยภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัว


Share:



โครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill (การประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ณ จังหวัดตาก)

เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ นายกันตพงศ์ รังสีสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการตามแผนงานวิเคราะห์สมรรถนะรายบุคคลเพื่อสร้างต้นแบบอาชีพใหม่ ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill ภายใต้กิจกรรมการประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพ ร่วมกับ จังหวัดตาก และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี นางสาวพรประภา สินธุนาวา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวรายงาน

การจัดประชุมเชิงปฎิบัติการกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลศักยภาพจัดระหว่างวันที่ ๖ ถึง ๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมเวียงตากริเวอร์ไซด์ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทนผลิตภัณฑ์ทอผ้ากะเหรี่ยงหมักโคลน บ้านทีกะเป๋อ ต.ช่องแคบ อ.พบพระ ตัวแทนผลิตภัณฑ์สานใบลาน บ้านปากร้องห้วยจี้ ต.ตากออก อ.บ้านตาก ตัวแทนผลิตภัณฑ์กาแกสดมูเซอ อาราบิก้า โรบัสต้า MuserCoffee ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด ตัวแทนผลิตภัณฑ์มอเสื่อกก บ้านหนองนกปีกกา ต.โป่งแดง อ.เมือง และผู้เกี่ยวข้อง รวม ๑๐๐ คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการ Upskill/Reskill กลุ่มเป้าหมายให้พัฒนาศักยภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัว


Share:



การเสวนาโต๊ะกลมเสมือนจริง (Virtual Talk & Round table)

กมพ. โดย ศส.ตปท. จัดประชุม zoom ร่วมกับสถานทูต กรมการกงศุล เครือข่ายคนไทย ประเทศนอร์เวย์ มีผู้ลงทะเบียนร่วมประชุมออนไลน์จาก 7 ประเทศ
(นอร์เวย์ อิตาลี เยอรมัน ไทเป ฮ่องกงมาเลเซีย และไทย) เพื่อ พัฒนาระบบกลไกเครือข่ายคนไทยข้ามชาติและองค์ความรู้ในการช่วยเหลือคนไทยตามภารกิจ พม.

วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๐๐ น (เวลา ณ ประเทศนอร์เวย์ ๐๙.๐๐ น.) กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมุษย์ โดย กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กมพ.) และศูนย์ส่งเสริม และประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ (ศส.ตปท.) จัดเสวนาโต๊ะกลมเสมือนจริง (Virtual Talk & Round table) “กระทรวง พม. พบ เครือข่ายพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศพื้นที่ประเทศนอร์เวย์”โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อผลกระทบด้านสังคมสถานการณ์ไวรัส 2019 (COVID-19) และแนวทาง การพัฒนากลไกเครือข่ายคนไทยในต่างประเทศเพื่อการจัดสัสดิการสังคมตามภารกิจกระทรวง พม.


Share:



ประชุมทบทวนแผนปฏิบัติการ ปี 2564 รายกลุ่ม ครั้งที่ 3 : กลุ่มประสาน สสว.(กลุ่ม กสว.)

วันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 กมพ.ประชุมทบทวนแผนปฏิบัติการ ปี 2564 รายกลุ่ม ครั้งที่ 3 : กลุ่มประสาน สสว.(กลุ่ม กสว.)

?สรุปเป้าหมายงานปี 2564

?ทบทวน positioning กสว. เป็นสำนักงานเลขาขับเคลื่อนงาน สสว.ภายใต้การกำกับตรงของ ปพม. ดังนั้น กสว.นอกจากจะสนับสนุนงานด้านธุรการแบบที่ผ่านมา ควรสนับสนุนองค์ความรู้และทรัพยากรให้ สสว.สามารถปฏิบัติหน้าที่ เขตได้อย่างสมบูรณ์ เช่น จัดกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้งานวิจัย เครื่องมืองานสังคมสงเคราะห์ที่จำเป็นในสถานการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง แนวคิดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ในขณะเดียวกันต้องสามารถรวบรวมผลงาน ที่เป็นข้อเสนอที่ สสว.ควรส่งเสริมสนับสนุนจังหวัด และ สรุปถอดบทเรียนพร้อมข้อเสนอเขิงนโยบายเพื่อผู้บริหารกระทรวงใช้กำหนดทิศทางการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และชี้ trend /ทิศทางในการวิจัย/การเฝ้าระวัง/การเตือนภัย จากข้อมูลที่ กมพ.ดำเนินงานอให้สสว.ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานด้านวิชาการของ สสว.

?การจัดทำงบประมาณของ กสว.ให้ชัดเจน จำแนกให้ถูกต้องตามภารกิจและ timeline

และต้องไม่ดำเนินการเอง ลงนามในหนังสือถึง สสว.เองโดยเฉพาะเรื่องหลักการ/เรื่องงบประมาณให้หารือ ผอ.กมพ.ก่อนเสมอ และเสนอ ปพม.เพื่อพิจารณา

?การประเมินความคุ้มค่าของ สสว.ตามที่ กพร.สั่งการเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเกลี่ยงบประมาณ ให้จัดทำรายละเอียดเพื่อหารือ ปพม.ก่อนดำเนินการขออนุมัติหลักการอย่างเป็นทางการ

?การจัดประชุม สสว.ประจำเดือน ให้จัดให้มีชุดองค์ความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนกับ สสว.ทุกครั้ง และให้นำข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยที่จัดทำเดือนละ 4 ครั้ง แจ้งให้ที่ประชุมทราบและนำไปขยายผลในกลุ่มจังหวัดอย่างกว้างขวาง

?ประสานกองตรวจราชการตามนโยบาย ปพม.เรื่อง สสว.เป็นหน่วยติดตามประเมินผลการดำเนินงานของ สนง.พมจ. เพื่อร่วมจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน/แบบรายงาน ให้ สสว.และจังหวัดรับทราบถูกต้องตรงกัน


Share:



ประชุมกลุ่มฝ่ายเพื่อทบทวนแผนปฏิบัติการปี 2564 ครั้งที่ 2

        วันอังคารที่ 15 ธันวาคม 2563  กมพ. จัดประชุมกลุ่มฝ่ายเพื่อทบทวนแผนปฏิบัติการปี 2564 ครั้งที่ 2 : กลุ่มวิเคราะห์
เฝ้าระวังฯ น้องป้อมเป็น ผอ.กลุ่ม

? นำผลการรวบรวมรายงานสถานการณ์ทางสังคมปี63 มาแยกข้อมูลของ 76 จังหวัด ตามประเภทกลุ่มเป้าหมายเด็กเยาวชน/ผู้สูงอายุ/คนพิการ/สตรีและครอบครัว/คนไร้ที่พึ่ง จัดทำข้อมูลสถานการณ์รายด้าน ประเด็นที่ควรเฝ้าระวัง และ
ข้อเสนอเชิงนโยบายรายด้านแล้วเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแลกเปลี่ยนข้อมูลให้แม่นยำและชี้สถานการณ์ได้ชัดเจนมากขึ้นก่อนนำเสนอต่อผู้บริหารกระทรวง/ครม. ใช้กำหนดนโยบาย

? โครงการถ่ายทอดความรู้จิตวิทยาแก่ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์/สถาน/บ้าน ร่วมกับกรมสุขภาพจิต ตามนโยบายต่อเนื่องของ รวม.พม. เนื่องจากทราบว่าหลักสูตรของกรมสุขภาพจิตดีมาก ควรสร้างทีมวิทยากร ครู ก. ให้ สสว.11 เขต เพื่อเป็นหลักขยายผลอบรมให้ครอบคลุมทุกหน่วยในเขต สสว.1-11 และเห็นควรเสนอผู้บริหารพิจารณาสนับสนุนงบให้ สสว.อบรม หรือ
บูรณาการใช้งบจากต้นสังกัดของศูนย์/สถาน/บ้าน หรือ สาว.ของบจากงบกระจายที่จังหวัดจากกองทุน กสค. บูรณาการ
การของบจาก สสส. หรือหน่วยอื่น

? สร้างและพัฒนาให้มี”ศูนย์ข้อมูลทางสังคม : ด้านวิชาการเพื่อการพัฒนาสังคม” เพื่อการสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. โดยเป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านวิชาการ วิจัย มาตรฐาน สถานการณ์สังคม และข้อมูลเพื่อการ
เฝ้าระวังทางสังคม

? จัดทำรายงานเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมแบบมีส่วนร่วม ทั้งจากรายงาน สำรวจความคิดเห็นกลุ่มเป้าหมายผู้บริหาร พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพิ่มช่องทางการรับรู้สาระการเฝ้าระวังและเตือนภัยผ่านสื่ออนไลน์ ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น คลิป แอฟ TikTok เป็นต้น โดยเผยแพร่จริงจัง ต่อเนื่อง บนฐานตรงใจ ตรงสถานการณ์ ถูกต้อง เข้าใจง่าย

? เตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาช่องทาง platform และบูรณาการร่วมกับ big data ของ ศทส. เพื่อจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์ทางสังคมให้เป็นระบบที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แทนข้อมูลตัวหนังสือที่ประมวลผลในระบบยากมากๆ ต้องใช้นักวิชาการเสียงบประมาณเพิ่มมากขึ้น


Share:



ว่าด้วยเป้าหมาย “มาตรฐานเบาหวิว”

วันนี้จันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2564 กมพ.ประชุมแผนปฏิบัติการรายกลุ่มฝ่าย

กลุ่มที่ 1: กลุ่มการพัฒนามาตรฐานทางสังคม

ปี 2564 เรามีทั้งเป้าหมายที่ต้องทำ และเป้าหมายที่อยากทำ

?งานท้าทายที่อยากทำ ปี 2564

?นำ 32 มาตรฐานของ พม. มาบูรณาการยำรวมให้เป็น ?”มาตรฐานเบาหวิว”ชุดที่ 1?แบบที่จังหวัดทำข้อมูลชุดเดียว แต่สามารถใช้ตอบข้อมูลได้กับ 32 มาตรฐาน ในอนาคตจะนำไปสู่การพัฒนาช่องทางการเก็บและประมงลผลดิจิทัล(platform)การจัดเก็บข้อมูลนี้เป็นรายงานสถานการณ์ทางสังคม เป็นฐานข้อมูลทางสังคม ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อเสนอการพัฒนาดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ที่จังหวัดสามารถนำไปใช้ได้จริง

?บูรณาการงานมาตรฐาน พมจ.+ตัวชี้วัดพมจ. +PMQA +องค์กรคุณธรรม+ITA+มาตรฐานองค์กรสวัสดิการสังคม เป็น ?”มาตรฐาน+ตัวชี้วัดเบาหวิว”
ชุดที่ 2? ทำครั้งเดียวใช้ได้ทั้งตอบโจทย์งานและมีหลักฐานส่งเข้าประกวดทุกเรื่องได้

?นำรายงานความมั่นคงของมนุษย์ปี 2562 มาจัดทำ?คู่มือ?การประยุกต์นำรายงานชุดนี้ไปสู่การปฏิบัติทั้งระดับนโยบานและจังหวัดสามารถนำรายงานความมั่นคงของมนุษย์ที่ทำแต่
ละปีไปใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม

       – สรุปเป็นข้อเสนอเขิงนโยบายเสนอ ครม./ปพม.เพื่อใช้ประกอบการกำหนดนโยบายความมั่นคงของมนุษย์เทียบเคียงข้อมูลสภาพัฒน์ เป็นต้น 

       -จัดกระบวนการถ่ายทอดและคืนข้อมูลรายงานความมั่นคงของมนุษย์ให้กลุ่มวิจัย กลุ่มใน กมพ.นำไปใช้กำหนดประเด็นงานด้านวิจัย/วิเคราะห์เฝ้าระวัง คืนข้อมูลให้ สสว. และ พมจ . โดยชี้แจงแนะนำการใช้คู่มือประยุกต์ใช้ประโยชน์ในระดับต่างๆทั้งกรม/เขตจังหวัด/จังหวัด (บูรณาการการขับเคลื่อนแนวคิดนี้กับงบวิจัยพัฒนานักวิจัยที่ กมพ.ได้งบปี 2564 แล้ว)

?ศึกษาเปรียบเทียบเพื่อยกระดับดัชนี/รายงานความมั่นคงของมนุษย์ให้ได้รับยอมรับระดับอาเซียน/ประเทศ

      -เปรียบเทียบกับดัชนีความสุข/การชี้ความมั่นคงที่หน่วยอื่นทำเช่น คลัง ชี้บัตรสวัสดิการ TPMAP ชี้คนยากจน พก.ชี้คนได้เบี้ยยังชีพเพิ่ม มีหลักคิดอย่างไร เกี่ยวข้องกับดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ที่ผู้กำหนดนโยบายควรสนใจ  หรือประเทศอื่น เราคุยกันแบบสนุกๆหานักวิชาการ/คนที่รู้จริงมาแลกเปลี่ยน เอาแบบสนุกๆแล้วได้พัฒนาทีมด้วย อาจได้ข้อเสนอเรื่องดัชนีที่น่าเขื่อถือก็ได้ ถึงไม่ไดก็ถือว่าพัฒนาทีมแบบสนุกๆไม่เอาเป็นเอาตายเรื่องนี้

?เป้าหมายที่ต้องทำ (งานตามแผนงบ)

?รายงานความมั่นคงของมนุษย์ปี 2563

?ติดตามการขับเคลื่อนมาตรฐาน 8 หน่วยงานระดับกรม 32 มาตรฐาน

?การขับเคลื่อนฐานข้อมูล


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial