“ประชุมโครงการการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ ครั้งที่ 1/2566”

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมจันทร์กะพ้อ กระทรวง พม. กมพ. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) จัดประชุมหารือขับเคลื่อนการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวง (นาวสาวอุไร เล็กน้อย) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม พร้อมมอบนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยร่วมกับ พระมงคลธรรมวิธาน,ผศ.ดร. รองอธิการบดี มมร. วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตตโม,ผศ.ดร. รองอธิการบดี มมร. ด้านวิจัยและนวัตกรรม พร้อมทั้งผู้บริหาร บุคลากร มมร. เข้าร่วมประชุม

วัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อขยายความร่วมมือภายใต้โครงการการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติให้ครอบคลุมคณะสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย โดยเชิญ มมร. เป็นตัวแทนสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

ที่ประชุมได้มีการพิจารณาทบทวนร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ โดยเพิ่มองค์กรที่ร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ จำนวน 4 องค์กร ได้แก่ สำนักกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูต (ธรรมยุต) โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข หนกลาง และ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พร้อมทบทวนแผนปฏิบัติการฯ และ ร่างคำสั่งคณะกรรมการฯ เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือ

กำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกันต่อไปโดยกระทรวง พม. นำส่งสรุปรายงานการประชุมครั้งนี้เพื่อผู้เกี่ยวข้องทราบ การขอวาระงานเพื่อเสนอผู้บริหาร พม. เข้ากราบถวายสักการะท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และเชิญ มมร. เข้าร่วมประชุมร่วมกับ มจร. และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ในโอกาสต่อไป


Share:



ตรวจหาสารเสพติดภายในกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วันพุธที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 1 1.30 น. กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินการตามนโยบายและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตร์ในปฏิบัติการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายรัฐบาล ประจำปีงบ ประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะเร่งด่วน 3 เดือน (1 พ. ย. 65 – 30 ม.ค. 66) โดยดำเนินการ ตามมาตรการปราบปรามยาเสพติด

ด้วยการสำรวจและตรวจสอบข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการยาเสพติด ทั้งการเป็นผู้สพ ผู้ติด หรือเข้าไปเกี่ยวข้อง กับยาเสพติด ผลการตรวจสอบปรากฏว่าไม่พบสารเสพติดภายในหน่วยงาน


Share:



“ประชุมหารือขับเคลื่อนโครงการการสร้างเครือข่าย บวร เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ”

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมการะเวก กระทรวง พม. กมพ. ร่วมกับ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตตโม, ผศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ในฐานะผู้ประสานงานอย่างไม่เป็นทางการของ มมร.ประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการ

เรื่องการขยายความร่วมมือไปนังฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เพื่อขับเคลื่อนโครงการ การสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ และการจัดทำบันทึกความร่วมมือ ว่าด้วย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางการเสริมความเข้มแข็งของ “บวร” สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. ขอให้กระทรวง พม.มีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเชิญร่วมทำความร่วมมือฯ ครั้งนี้ และทาง มมร.จะช่วยประสานการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือของคณะสงฆ์ในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ทั้งงานพระธรรมทูตในต่างประเทศ งานสาธารณสงเคราะห์ในประเทศ และงานพัฒนาหลักสูตร เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะด้านงานสังคมสงเคราะห์และการบริการสวัสดิการสังคมตามภารกิจของกระทรวง พม.

2. ผู้ประสาน มมร.จะพิจารณาตรวจและจัดทำข้อเสนอร่างบันทึก ความร่วมมือฯ /ร่างคณะกรรมการขับเคลื่อนความร่วมมือฯ และร่างแผนการขับเคลื่อนความร่วมมือฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ มมร.และองค์กรพระสงฆ์ในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

3. ผู้ประสานงาน มมร.รับจะอำนวยการให้มีการประชุมร่วมระหว่างกระทรวง พม. คณะทำงานฝ่ายมหานิกายกับคณะผู้บริหาร มมร.และคณะสงฆ์ ที่เกี่ยวข้องในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย รวมถึงจะได้ช่วยประสานเพื่อถวายสักการะเจ้าประคุณสมเด็จสมเด็จพระธีรญาณมุนี องค์ประธานในงานพระธรรมทูตไปต่างประเทศของฝ่ายธรรมยุติ ตามลำดับ


Share:



ประชุมหารือประเด็นความร่วมมือด้านสังคมสงเคราะห์

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น.  รศ.ดร.อัจฉรา ชลายนนาวิน คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ เข้าพบปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อแสดงความยินดี พร้อมทั้งหารือประเด็นความร่วมมือด้านสังคมสงเคราะห์ ณ ห้องรับรอง ในการนี้ นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนางสาวธิดาพร เสาวนะ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมหารือด้วย  โดยปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวถึงประเด็นที่ต้องการให้คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงฯ คือ การเป็นพันธมิตรในทางวิชาการ เพื่อให้หลักการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ของกระทรวงฯ มีความเข้มแข็งขึ้น และขอให้คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นพื้นที่ฝึกปฏิบัติ (Area Based) ของนักศึกษาเพื่อฝึกปฏิบัติวิชาชีพสร้างประสบการณ์ตรง รวมถึง การมุ่งสร้างให้เป็นคนไทยที่มีความเป็น Active Citizen Leadership เพื่อเป็นบุคคลที่มีความตระหนักรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ ประเด็นการหารือเพื่อสร้างความร่วมมือในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้

  1. การสร้างความร่วมมือระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ Social Policy and Development Program (SPD) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ University of York และ สถาบัน British Council ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนในเชิงลึก (Community Development)
  2. นำเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน และผู้บริหารด้านสังคมสงเคราะห์ ผ่านศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาแห่ง คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (Training Center) เพื่อพัฒนาบุคลากรของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  3. การจัดเวทีหารือความร่วมมือระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการถ่ายโอนภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาทิ งานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) โดยมีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นกลไกในการเชื่อมประสาน และมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  4. เสนอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีนโยบายในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการวิจัยต่อเนื่องร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ในเรื่องการพัฒนา Application เพื่อเป็นช่องทางช่วยเหลือหญิงไทยในต่างประเทศที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
  5. นำเสนอโครงการความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เพื่อนำร่องในการพัฒนา Smart City เมืองผู้สูงอายุ และเมืองปลอดภัย โดยเชิญชวนให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้าร่วมด้วย

Share:



โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย(UNDP) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ณ VIE Hotel

ตามที่ ปพม.มอบหมาย รอง อสค.(นางรุ่งทิวา สุดแดน) และ ผอ.กมพ.(นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน) ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินโครงการด้านความมั่นคงของมนุษย์เพื่อรับเงินสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย(UNDP) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ณ VIE Hotel สรุปผล ดังนี้
💕งานดี💕โครงการเกี่ยวกับพม.💕ควรไปต่อเชิงนโยบาย
✅The Human Security Project Impact Incubation Workshop and Project Pitching Day

คณะกรรมการตัดสินมาจากหน่วยงานก้านความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาตัดสินโครงการขอรับเงินจาก UNDP คัด 10 เหลือ 2 แถม 1 โครงการรับเงินสนับสนุนจาก UNDP โครงการละไม่เกิน 10,000 US ดอลลาร์ (ประมาณไม่เกิน 370,000 บาท) รวม 30,000 US ดอลลาร์ หรือประมาณ 1,110,000 บาท
✅Miss Lolita Ramgutte รองผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดและมอบเงินสนับสนุน
✅สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย เสนอนวัตกรรม หลักสูตรที่พร้อมขายให้ SE/ภาคีเพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักความเท่าเทียมของกลุ่มเลสเบี้ยน และป้องกันความรุนแรง/เลือกปฏิบัติ เป็นการปิด policy gab ในงานภาครัฐ แบะเป็นทางหนึ่งในการสร้างการตระหนักรู้และให้ความสำคัญเรื่องสิทธิเท่าเทียมที่ค่อยๆเข้าใกล้ความจริงทีละน้อยอย่างมี movement ที่น่าสนใจ
✅มูลนิธิ SWING (เพื่อนพนักงานบริการ) เรื่อง sex worker เป็นปัญหาในสังคมไทยที่ซุกไว้ใต้พรมมาโดยตลอด เมื่อมีโควิดทำให้ปัญหานี้แทบปริแยก เห็นหนองเต็มพื้นพรม ที่ทุกฝ่ายควรตระหนักความสำคัญอย่างจริงจัง เพราะปัญหา sex worker เป็นปัญหาเขิงซ้อน เป็นที่มาของ ความรุนแรง แม่เลี้ยงเดี่ยว เด็กถูกทอดทิ้ง ผู้สูงอายุหันมาขายบริการมากขึ้น เด็กอายุน้อยลงผันตัวเข้าวงการขายบริการ ทั้งเป็นอาชีพและ site line คนที่เคยออกจากอาชีพนี้ต้องกลับมาทำซ้ำเพิ่มมากขึ้นเพราะโควิดทำให้หมดงาน ไม่มีเงิน ไร้หนทาง และการเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมายทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิ์จำนวนมากเพราะระบุชื่ออาชีพสถานที่ทำงานไม่ได้ ไม่มีประกันสังคม การส่งเสริมอาขีพเสริมในโครงการครั้งนี้ จึงนับเป็นโครงการที่ให้ทางออกที่ดี และควรขยายผลอย่างจริงจัง
✅สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ สะท้อนตัวเลขสตรีและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ชัดเจนจนตกใจ ดังนั้นการเสริมพลังให้สตรีที่ไร้หัวหน้าครอบครัวลุกขึ้นมาเข้มแข็ง และเป็นพลังอาสาช่วยเหลือครอบครัวที่ไร้กำลัง ลำบากยากไร้และร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็งชุมชน จึงยากที่จะปฏิเสธการสนับสนุน


Share:



การประชุมเพื่อจัดทำข้อเสนอเขิงนโยบายจากรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปี 2565

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 รองปลัดกระทรวง พม.(นายธนสุนทร สว่างสาลี) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเพื่อจัดทำข้อเสนอเขิงนโยบายจากรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปี 2565 จัดโดย กมพ. ร่วมกับ สสว.1-11
ที่ประชุม ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลจากการรายงานสถานการณ์ทางสังคมของ สสว.1-11 ทั้งในเขิงองค์ประกอบการจัดทำเอกสารรายงาน คุณภาพข้อมูล ถอดบทเรียนการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมปี 2565 และร่วมกันจัดทำจ้อเสนอเชิงนโยบายในนามของหน่วยงานด้านวิชาการของกระทรวง พม ซึ่ง กมพ.จะรวบรวมและเสนอ ผอ.สสว.1-11 ร่วมกันกลั่นกรองอีกครั้งก่อนเสนอผู้บริหาร พม.อย่างเป็นทางการ และกำหนดแนวทางการจัดเก็บข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคม ปี 2566 ในรายการเดิมแต่ปรับปรุงข้อมูลตามที่มีการสรุปแนวทางร่วมกันในที่ประชุม และ กมพ.จะได้นำส่งแนวทางจากการประชุมนำส่งทุกหน่วยอย่างเป็นทางการตามลำดับต่อไป


Share:



“ประชุมหารือขับเคลื่อนโครงการการสร้างเครือข่าย บวร เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ ครั้งที่ 3/2565”

      วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. กมพ.สป.พม.ร่วมกับ มจร. สำนักงานพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดการประชุมทบทวนร่าง MOU ขับเคลื่อนงาน “บวร” ครั้งที่ 3/2565 โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน) เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมมีมติที่สำคัญดังนี้
1. เพิ่มหน่วยงานที่จัดทำความร่วมมือ อีก 2 หน่วยงาน ได้แก่ ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และ คณะกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.)
2. ขยายความร่วมมือการดำเนินงานร่วมกับพระสงฆ์ในฝ่ายธรรมยุติกนิกายโดยมอบฝ่ายเลขานุการฯ ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประสานความร่วมมือและเข้าถวายสักการะ และขอคำแนะนำจากเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
3. มอบฝ่ายเลขานุการฯ ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการขับเคลื่อน MOUให้สอดคล้องกับหน่วยงานที่ปรับเพิ่ม
4. ให้มีการประชุมร่วมกับฝ่ายธรรรมยุตินิกายอีกครั้งก่อนมีข้อสรุปร่าง MOU

Share:



ประชุมหารือขับเคลื่อนโครงการการสร้างเครือข่าย “บวร” เพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดประชุม พิจารณาร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ณ ห้องประชุม ๓๐๓ อาคารสำนักงานอธิการบดี มจร จ. อยุธยาโดยมี พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน ผศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณา “ร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวทางการเสริมความเข้มแข็งของ “บวร” ระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ทั้งนี้ที่ประชุม มีมติให้ปรับรายละเอียดในร่างบันทึกข้อตกลงฯ ให้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมและชัดเจน รวมทั้งเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือเพื่อให้การขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์และกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย ๓ หน่วยงาน คือ สำนักงานพระพุทศาสนา สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไทยไปต่างประเทศ และมหามกุฏราชวิทยาลัย


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial